หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร

พลโท หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร (29 เมษายน 2429 - 30 กรกฎาคม 2495) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา และเป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อมรทัต กฤดากร
สมุหราชองครักษ์
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน 2469 – 28 กุมภาพันธ์ 2471
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพลเอก เจ้าพระยารามราฆพ
ถัดไปพลเอก พระยาเทพอรชุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 เมษายน พ.ศ. 2429
เสียชีวิต30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (66 ปี)
คู่สมรสหม่อมพร้อมสุพิน
หม่อมอู๊ด
บุตรหม่อมราชวงศ์ไพเราะ กฤดากร
หม่อมราชวงศ์เพลินจิตร์ กฤดากร
หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร
หม่อมราชวงศ์สุทัศนีย์ กฤดากร
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกรมราชองครักษ์
กองทัพบกสยาม
ยศ พลโท

พระประวัติ แก้ไข

หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร หรือที่ชาววังขานพระนามว่า ท่านชายตาป่อง ประสูติเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2429 ในช่วงที่พระบิดาดำรงตำแหน่งอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำพระราชวังเซนต์เจมส์ โดยเริ่มศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับประเทศไทยได้เข้าเป็นนายทหารเหล่าปืนใหญ่ ดำราชตำแหน่งราชองครักษ์ ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และรับราชการในต่างประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา

 
หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอัครราชทูตพิเศษประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หม่อมเจ้าอมรทัต ได้เป็นคณะทูตทหารในคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมสันติภาพ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ จึงได้แต่งตั้งเป็นสมุหราชองครักษ์ ในปี พ.ศ. 2469[1] และด้วยความสนิทสนมกับราชสำนักยุโรป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สนองพระเดชพระคุณด้านวางระเบียบราชการในพระราชสำนัก โดยเฉพาะในส่วนที่ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ และแบบแผนในการรับรองคณะทูตานุทูต

ในปี พ.ศ. 2466 หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2466[2]

เมื่อปี พ.ศ. 2471 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แล้วย้ายมากรุงปารีส ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเดรลันดส์ อิตาลี สเปน และเปอร์ตุเกส และเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3] ในเวลาต่อมา จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ถูกปลดออกจากราชการ[4]

หม่อมเจ้าอมรทัต ทรงมีบุตรและธิดา 4 คน เกิดจากหม่อมพร้อยสุพิณและหม่อมอู๊ด ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร
  2. หม่อมราชวงศ์หญิงเพลินจิตร์ กฤดากร
  3. หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร
  4. หม่อมราชวงศ์หญิงสุทัศนีย์ กฤดากร

พลโท หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ประชวรด้วยโรคหืดและพระหทัยพิการ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 สิริพระชันษาได้ 66 ปี

พระยศทหาร แก้ไข

  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - ร้อยตรี[5]
  • ไม่ปรากฏ - พันเอก
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2467 - พลตรี[6]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 - พลโท[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข

ราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข

  •   เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2476 -   เครื่องอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยี่ยม ชั้นที่ 1[13]

อ้างอิง แก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 เมษายน 2469 ประกาศตั้งสมุหราชองครักษ์http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/A/1.PDF
  2. การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พระพุทธศักราช 2466
  3. ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ประกาศตั้งอัครราชทูตhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/48.PDF
  4. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
  5. ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
  6. พระราชทานยศ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ตอนที่ 62 เล่ม 67 ราชกิจจาุนุุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2493 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/062/5872.PDF
  8. "ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน 0ง): หน้า 2364. 6 พฤศจิกายน 2471. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2471.PDF
  10. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  11. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 3124 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3120.PDF
  12. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
  13. แจ้งความเรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/D/3322.PDF เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน