แบร์น

เมืองหลวงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

แบร์น[3] (ฝรั่งเศส: Berne; เยอรมัน: Bern) หรือ เบิร์น[3] (อังกฤษ: Bern) เป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เทศบาลกรุงแบร์นมีประชากรราว 140,000 คน (ปี ค.ศ. 2019) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ หากรวมปริมณฑลจะมีประชากรราว 6.6 แสนคน นอกจากนี้ กรุงแบร์นยังเป็นเมืองหลวงของรัฐที่มีชื่อเดียวกัน คือรัฐแบร์น ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศ ภาษาทางการในกรุงแบร์นคือภาษาเยอรมัน ภาษาพูดทั่วไปในกรุงแบร์นคือภาษาเยอรมันสำเนียงสวิส กรุงแบร์นเป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาลกลางแห่งสมาพันธรัฐสวิส

แบร์น
เขตเมืองเก่า
เขตเมืองเก่า
ตราราชการของแบร์น
ตราอาร์ม
แบร์นตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์
แบร์น
แบร์น
ที่ตั้งของแบร์น
พิกัด: 46°57′N 7°27′E / 46.950°N 7.450°E / 46.950; 7.450พิกัดภูมิศาสตร์: 46°57′N 7°27′E / 46.950°N 7.450°E / 46.950; 7.450
ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์
รัฐแบร์น
เขตแบร์น-มิทเทิลลันท์
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด51.6 ตร.กม. (19.9 ตร.ไมล์)
ความสูง542 เมตร (1,778 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาเกอร์เทิน)864 เมตร (2,835 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด (แม่น้ำอาเร)480 เมตร (1,570 ฟุต)
ประชากร
 (ธ.ค. 2012[2])
 • ทั้งหมด127,515 คน
 • ความหนาแน่น2,500 คน/ตร.กม. (6,400 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์3000–3030
เลข SFOS0351
เว็บไซต์www.bern.ch

ใน ค.ศ. 1983 เขตเมืองเก่ากรุงแบร์นถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก[4] กรุงแบร์นยังถูกอันดับโดยสถาบัน ECA International ให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดของยุโรปในปี ค.ศ. 2019 - 2020 ควบคู่กับกรุงโคเปนเฮเกน[5]

แบร์นถูกก่อตั้งโดยดยุกแบร์โทลด์ที่ 5 แห่งเซริงเงิน ในปี ค.ศ. 1191 แต่เมื่อดยุกแบรชโทลด์เสียชีวิตและไม่มีทายาทสืบทอด แบร์นก็ได้รับสถานะเป็นเสรีนครจักรวรรดิโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แบร์นเข้าร่วมสมาพันธรัฐสวิสในปี ค.ศ. 1353 ถือเป็นรัฐลำดับที่ 9 ที่เข้าร่วมสมาพันธ์

ศัพท์มูลวิทยา แก้

 
ทัศนียภาพของกรุงแบร์นริมแม่น้ำอาเร

ที่มาของชื่อ "แบร์น" นั้นไม่เป็นที่ชัดเจน เรื่องเล่าพื้นเมืองระบุว่าที่มาของชื่อมาจากการที่ดยุกแบร์โทลด์ที่ 5 แห่งเซริงเงิน (Berthold V. von Zähringen) ผู้ก่อตั้งเมืองแบร์น ประสงค์จะตั้งชื่อเมืองเป็นชื่อสัตว์ตัวแรกที่เขาพบระหว่างล่า และสัตว์ตัวนั้นก็คือหมี ซึ่งในภาษาเยอรมันออกเสียงว่า "แบร์" (Bär) บ้างก็บอกว่า ชื่อเมืองนี้ถูกตั้งตามชื่อเมืองเวโรนาในอิตาลี ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันบนว่า "แบร์น" อย่างไรก็ตาม การศึกษาแผ่นเหล็กโกบันนุส (Gobannus tablet) ในปีค.ศ. 1980 ทำให้มีสมมติฐานใหม่ว่า ชื่อแบร์นอาจเป็นคำเรียกของชาวเคลต์ว่า "แบร์นา" (Berna) ที่มีความหมายว่าร่อง[6]

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงแบร์น (1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.8
(37)
4.7
(40.5)
9.5
(49.1)
13.4
(56.1)
18.2
(64.8)
21.6
(70.9)
24.3
(75.7)
23.7
(74.7)
19.1
(66.4)
13.8
(56.8)
7.3
(45.1)
3.5
(38.3)
13.5
(56.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -0.4
(31.3)
0.7
(33.3)
4.7
(40.5)
8.1
(46.6)
12.7
(54.9)
16.0
(60.8)
18.3
(64.9)
17.7
(63.9)
13.7
(56.7)
9.3
(48.7)
3.7
(38.7)
0.6
(33.1)
8.8
(47.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.6
(25.5)
-3.1
(26.4)
0.2
(32.4)
3.0
(37.4)
7.4
(45.3)
10.5
(50.9)
12.5
(54.5)
12.3
(54.1)
8.9
(48)
5.4
(41.7)
0.4
(32.7)
-2.3
(27.9)
4.3
(39.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 60
(2.36)
55
(2.17)
73
(2.87)
82
(3.23)
119
(4.69)
111
(4.37)
106
(4.17)
116
(4.57)
99
(3.9)
88
(3.46)
76
(2.99)
74
(2.91)
1,059
(41.69)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 12.8
(5.04)
13.1
(5.16)
7.0
(2.76)
0.8
(0.31)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.1
(0.04)
5.5
(2.17)
13.3
(5.24)
52.6
(20.71)
ความชื้นร้อยละ 84 79 73 71 73 71 71 73 79 84 85 85 77
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 9.6 9.0 10.6 10.4 12.6 11.1 10.8 10.7 8.9 10.4 10.2 9.9 124.2
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 cm) 4.1 3.5 2.0 0.3 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 1.1 3.1 14.1
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 64 87 137 159 182 205 236 217 165 113 68 49 1,682
แหล่งที่มา: MeteoSwiss[7]

อ้างอิง แก้

  1. Arealstatistik Standard - Gemeindedaten nach 4 Hauptbereichen
  2. Swiss Federal Statistical Office - STAT-TAB, online database – Datenwürfel für Thema 01.2 - Bevölkerungsstand und -bewegung (เยอรมัน) accessed 29 August 2013
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. "Old City of Berne". UNESCO World Heritage List. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  5. Global liveability report reveals which cities offer the best quality of life for Europeans abroad 11 February 2020
  6. Andres Kristol (ed.): Lexikon der schweizerischen Gemeindenamen. Huber, Frauenfeld 2005, ISBN 3-7193-1308-5, p. 143.
  7. "Climate normals Bern / Zollikofen (Reference period 1981−2010)" (PDF). Zurich-Airport, Switzerland: Swiss Federal Office of Metreology and Climatology, MeteoSwiss. 2 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 3 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้