กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์
พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ชื่อเล่น : ต่าย (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2508) เป็นข้าราชการตำรวจชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 4 วัน) (รักษาการ (วาระที่ 1) : 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567) (0 ปี 91 วัน) (รักษาการ (วาระที่ 2) : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567) (0 ปี 7 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตํารวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล |
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (2 ปี 10 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2508 อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
คู่สมรส | กนกวรรณ พันธุ์เพ็ชร์ |
ศิษย์เก่า |
|
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | ต่าย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ประจำการ | พ.ศ. 2531–ปัจจุบัน |
ยศ | พลตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ มีชื่อเล่นว่า ต่าย เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 25 และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 41 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ 15
รับราชการ
แก้พลตํารวจเอกกิตติ์รัฐ เริ่มต้นรับราชการหลังจากเรียนจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจในตำแหน่ง รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองระยองก่อนจะเติบโตขึ้นตามลำดับจนได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีคำสั่งให้พลตำรวจเอกต่อศักดิ์ และพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล เข้ามาช่วยงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้ พลตำรวจเอกกิตติ์รัฐ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1] จนถึงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567 จึงพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีคำสั่งให้พลตํารวจเอกต่อศักดิ์กลับมารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
จากนั้นในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 335/2567 แต่งตั้งให้พลตํารวจเอกกิตติ์รัฐ เป็นรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีกครั้งนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เนื่องจาก พลตำรวจเอกต่อศักดิ์ สุขวิมล เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งต้องรักษาการจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่อย่างเป็นทางการ
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติแต่งตั้ง พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (อาวุโสลำดับที่ 1) ที่ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 15 กระทั่งวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตำรวจเอกกิตติ์รัฐให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2557 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[5]
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ประวัติ "บิ๊กต่าย" รอง ผบ.ตร.รักษาการ
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ" นั่ง ผบ.ตร". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๐๖, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๗, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
ก่อนหน้า | กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ตนเอง (ในฐานะตำแหน่งรักษาราชการ) |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล | รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567) |
ตนเอง (ในฐานะตำแหน่งผู้บัญชาการ) |