คชสิงห์
คชสิงห์ หรือ คชสีห์ (จากสันสกฤต: gaja+siṃha / บาลี: gaja+sīha) เป็นสัตว์พันธุ์ผสมในเทพปกรณัมฮินดู ซึ่งปรากฎเป็น สิงห์ หรือ ราชสีห์ ที่มีหัวหรืองวงช้าง มีการใช้สัตว์ชนิดนี้เป็นลวดลายในศิลปะอินเดียและสิงหล[1] และใช้เป็น เครื่องหมายประจำตระกูลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ โดยเฉพาะประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ในประเทศสยาม คชสีห์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของกลาโหม ยังปรากฎเป็นเครื่องค้ำในตราแผ่นดินของสยามตั้งแต่ ค.ศ. 1873 ถึง 1910 และในตราแผ่นดินของกัมพูชามาตั้งแต่ ค.ศ. 1993
ภาพแก้ไข
ขาบัลลังก์งาช้าง ราชวงศ์คงคาตะวันออก
ลวดลายสถาปัตยกรรม ป้อมไกวลียาร์ รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย
รูปปั้น กระทรวงกลาโหม ประเทศไทย
ในมุทราศาสตร์แก้ไข
ตรากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ของประเทศไทย
อ้างอิงแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: คชสิงห์ |
- ↑ Bane, Theresa (2016). Encyclopedia of beasts and monsters in myth, legend and folklore. McFarland. p. 132. ISBN 9780786495054.
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |