จักรพงษ์ แสงมณี
จักรพงษ์ แสงมณี ป.ช. ต.ม. (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น เพ้า เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดํารงตําเเหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และอดีตนายทะเบียนสมาชิกพรรคเพื่อไทย
จักรพงษ์ แสงมณี | |
---|---|
จักรพงษ์ ใน พ.ศ. 2565 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 129 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จิราพร สินธุไพร | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | พวงเพ็ชร ชุนละเอียด |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 239 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | ปานปรีย์ พหิทธานุกร |
ก่อนหน้า | วีระศักดิ์ ฟูตระกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กันยายน พ.ศ. 2522 กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2552–ปัจจุบัน) |
อาชีพ | นักธุรกิจ นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | เพ้า |
ประวัติ
แก้จักรพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการตลาด จาก มหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา
จักรพงษ์ เป็นนักธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่ปี 2547 เขาเริ่มทำงานการเมืองโดยการสมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ในปี 2552 เป็นทีมผู้ช่วยงานสำนักงานพรรคเพื่อไทย และเป็นทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย[1] ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ฝ่าย เศรษฐกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
จักรพงษ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครั้งแรกในปี 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 92 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[2] ก่อนปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567[3]
ต่อมาในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมือง ตําเเหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2567
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ รู้จัก 'จักรพงษ์ แสงมณี' รมช.ต่างประเทศ ครม.เศรษฐา 1 บอกเลยโปรไฟล์ไม่ธรรมดา
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ครม.เศรษฐา 1/1 "พิชัย" คุม "คลัง" ดัน"สมศักดิ์"นั่ง สธ.แทน"ชลน่าน". ไทยพีบีเอสออนไลน์. ไทยพีบีเอส. 2024-04-28. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๙๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
ก่อนหน้า | จักรพงษ์ แสงมณี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 63) (27 เมษายน พ.ศ. 2567 — 3 กันยายน พ.ศ.2567) |
ชูศักดิ์ ศิรินิล | ||
วีระศักดิ์ ฟูตระกูล | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 — 27 เมษายน พ.ศ. 2567) |
ตำแหน่งว่าง |