ชูศักดิ์ ศิรินิล

นักการเมืองชาวไทย

รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491) เป็นนักการเมืองชาวไทย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชูศักดิ์ ศิรินิล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 16 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จิราพร สินธุไพร
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าจักรพงษ์ แสงมณี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 215 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จักรภพ เพ็ญแข
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าทิพาวดี เมฆสวรรค์
ถัดไปสุขุมพงศ์ โง่นคำ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 64 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าธีรพล นพรัมภา
ถัดไปนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 128 วัน)
รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 58 วัน)
ก่อนหน้าชลน่าน ศรีแก้ว
(หัวหน้าพรรค)
ถัดไปแพทองธาร ชินวัตร
(หัวหน้าพรรค)
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(1 ปี 288 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 (76 ปี)
อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2556–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2515–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
คู่สมรสประภาพรรณ ศิรินิล

ประวัติ

แก้

ชูศักดิ์ ศิรินิล มีชื่อเล่นว่า "ตุ๋ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ที่ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร[1] เป็นบุตรของนายเชื่อม-นางส้มล้ำ ศิรินิล สมรสกับนางประภาพรรณ ศิรินิล มีบุตรสาว 2 คน คือ ทพ.ญ. นฤมล ผลประเสริฐ และ พญ. ดลฤดี ศิรินิล

รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบเนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา) และระดับปริญญาโท สาขากฎหมายเปรียบเทียบ จาก Southern Methodist University, Dallas, รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2515 เรื่อยมาจนกระทั่งได้รับตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2535 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก 2 สมัยติดต่อกัน ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537[2] โดยภารกิจซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือ การอนุญาตให้นักศึกษาจัดการชุมนุมร่วมกับประชาชน ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ระหว่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นอกจากการเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ยังเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อีกด้วย

นอกเหนือจากการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแล้ว รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) ปัจจุบันคือ ป.ป.ช. และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

งานการเมือง

แก้

รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เข้าร่วมงานการเมืองโดยการเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 และยังเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรหลายคณะ ต่อมาภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2549 รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค

ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบงานด้านกฎหมาย ต่อมาภายหลังจากการพ้นจากตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งพรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล จึงได้เข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[3]

ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 22[5] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 12[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[7] และในการเลือกตั้งอีกสามปีถัดมา เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ในลำดับที่ 4[8] และได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 อีกด้วย[9]

ทั้งนี้ หลังจากนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการมีมติเลือกชูศักดิ์เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค[10] ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม ปีเดียวกัน ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติให้แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และชูศักดิ์เป็นรองหัวหน้าพรรรคอีกครั้ง เขาจึงพ้นจากตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรค[11]

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ชูศักดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร[12] โดยดูแลและรับผิดชอบข้อกฎหมายให้กับรัฐบาลเป็นหลัก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 215/2551 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  8. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  9. "สรุปชื่อ ประธาน กมธ. 35 คณะ ขาด 'กมธ.สวัสดิการสังคม' นัดเลือกอีกที 11 ต.ค. คาด 'ณัฐชา' นั่งหัวโต๊ะ". วอยซ์ทีวี. 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-29.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
  11. "มติเพื่อไทย เลือก "แพทองธาร" หัวหน้าพรรคคนใหม่". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
  12. "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ชูศักดิ์ ศิรินิล ถัดไป
จักรพงษ์ แสงมณี    
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
(3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
   
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1
(6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
  สุขุมพงศ์ โง่นคำ
สุพล ฟองงาม
ชลน่าน ศรีแก้ว
(หัวหน้าพรรค)
   
รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(30 สิงหาคม – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566)
  แพทองธาร ชินวัตร
(หัวหน้าพรรค)