ปานปรีย์ พหิทธานุกร
ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) และประธานกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2553 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2500 |
พรรค | พรรคชาติพัฒนา
พรรคเพื่อไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และปริญญาเอก ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ จาก Claremont Graduate University
ประสบการณ์การทำงานแก้ไข
ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร เริ่มทำงานเป็นข้าราชการ ที่สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี และต่อมาในสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี
ในปี 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) และในปี 2545 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ในปี 2546 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างปี 2546-2548 ได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าคณะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศ BIMST-EC) และในปี 2547 ต่อมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรม มีบทบาทสำคัญในการวางแผน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่ออุตสาหกรรมใน Eastern Seaboard จนเป็นผลสำเร็จ
ในปี 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย และได้รับมอบให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการค้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรี ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า
ในปี 2551 เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (อันดับ 1) รับผิดชอบในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และเป็นกรรมการยุทธศาสตร์พรรค (ธันวาคม 2551 - กันยายน 2553)
ในปี 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |