มาริษ เสงี่ยมพงษ์
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น ปู เป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | |
---|---|
มาริษ ใน พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 195 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ภูมิธรรม เวชยชัย (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2567–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ก่อกาญจน์ เสงี่ยมพงษ์ |
บุตร | 1 คน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยโอไฮโอ |
อาชีพ | นักการทูต นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | ปู |
ประวัติ
แก้มาริษ เสงี่ยมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ที่ตำบลรองเมือง อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (รุ่น 18) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐ[1]
การทำงาน
แก้งานด้านการทูต
แก้มาริษออกประจำการครั้งแรกที่ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ตามด้วย เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ก่อนได้รับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ เนปาล ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ แคนาดา
งานการเมือง
แก้มาริษเคยเป็นข้าราชการประจำทำเนียบรัฐบาล ในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และข้าราชการประจำกรมภายในกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ และกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้กับปานปรีย์ พหิทธานุกร[1]
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มาริษดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนปานปรีย์ พหิทธานุกรที่ลาออกเมื่อสองวันก่อนหน้านั้น[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "เปิดประวัติ 'มาริษ เสงี่ยมพงษ์' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่". เดอะสแตนดาร์ด. 1 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'มาริษ เสงี่ยมพงษ์' เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ". ข่าวสด. 1 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
ก่อนหน้า | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปานปรีย์ พหิทธานุกร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 63) และ (ครม. 64) (30 เมษายน พ.ศ. 2567 — ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |