กรมสารนิเทศ
กรมสารนิเทศ มีภารกิจเกี่ยวกับงานสารนิเทศและการทูตเชิงวัฒนธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชนต่างประเทศและระหว่างสื่อมวลชนท้องถิ่นกับสื่อ มวลชนต่างประเทศในไทย และส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมรวมทั้งแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมกับนานาประเทศ เพื่อเผยแพร่ภาพพจน์ที่ดีของประเทศไทยและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ หรือทำหน้าที่โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศอีกหน้าที่หนึ่ง[2]
Department of information | |
ตรากรมสารนิเทศ | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 6 เมษายน พ.ศ. 2503[1] |
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ |
งบประมาณต่อปี | 40,193,636 บาท (พ.ศ. 2566) |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงการต่างประเทศ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
ภารกิจ และหน้าที่
แก้- ประมวลและวิเคราะห์ข่าวต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ
- เผยแพร่ติดต่อและประสายงานในกิจการที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านศิลปะ การศึกษา ดนตรี การกีฬา วิทยาศาสตร์ และด้านอื่น ๆ กับต่างประเทศ
- ประชาสัมพันธ์และชี้แจงนโยบายและทัศนะของประเทศไทยแก่ผู้แทนหนังสือ พิมพ์และสื่อมวลชนต่าง ๆ รวมทั้งติดตามข่าว บทความหนังสือพิมพ์ และข่าวสารต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ
- จัดทำรายการข่าว สารคดี และบทความ และควบคุมและบริหารสถานีวิทยุวิทยุต่างประเทศ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หน่วยงานในสังกัดกรมสารนิเทศ
แก้- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองการสื่อมวลชน
- กองประชาสัมพันธ์การทูตสาธารณะ
- กองประมวลและวิเคราะห์ข่าว
- กองการทูตวัฒนธรรม
- มูลนิธิยุวทูตความดี
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๐๓, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๘ ก หน้า ๒๗๗, ๕ เมษายน ๒๕๐๓
- ↑ อธิบดีกรมสารนิเทศ-โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดตัวเลขงบช่วยเหลือเลบานอนจากเหตุระเบิด