กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะแนวทางในการกำหนดและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นหน่วยประสาน งานกลางของรัฐบาลในการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาคและพหุภาคี
Department of Internationl Economic Affairs | |
ตรากรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485[1] |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงการต่างประเทศ |
ภารกิจ และหน้าที่
แก้- ติดตาม ศึกษา ประมวล วิเคราะห์พัฒนาการและแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เสนอแนะแนวทางในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้านการเงิน การค้า การลงทุน เทคโนโลยีและการพัฒนา
- เสนอแนะนโยบาย ท่าที และเข้าร่วมในการเจรจา ทำความตกลงและดำเนินการในกรอบความร่วมมือและความตกลงระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ
- ติดตาม ศึกษา ประมวล วิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและต่างประเทศเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและ รักษาผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
- ติดตาม รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจและโอกาสทางการค้า การลงทุน ในต่างประเทศให้แก่ภาคเอกชนของไทย เพื่อส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ทางเศรฐกิจของภาคเอกชนของไทย
- ประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมือและความตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หน่วยงานในสังกัดกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
แก้- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองสนเทศเศรษฐกิจ
- กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- กองส่งเสริมสัมพันธ์และความร่วมมือ
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๕, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๔๑, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕