พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน หรือ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งอยู่ในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง อยู่ทางทิศเหนือ ติดกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีกำแพงแก้วล้อมด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก(ภาคกลาง)​อยู่ในพระราชฐานชั้นกลาง ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ บางคราวก็ใช้เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่เสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมราชชนก

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระที่นั่ง
เมืองหมู่พระที่นั่งภายใน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2325
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นส่วนหนึ่งของพระมหามณเฑียร
เลขอ้างอิง0005574

พระราชบัลลังก์

แก้
 
พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ

ภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีพระราชบัลลังก์ตั้งอยู่ 2 องค์ คือ

  • พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นบุษบกประกอบท้ายเกรินทั้ง 2 ข้าง ที่ท้ายเกรินปักฉัตรลายทอง 7 ชั้น ประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับ ในวโรกาสเสด็จออกฝ่ายหน้าในงานมหาสมาคม หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุในพระราชพิธี ปัจจุบันใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระมหากษัตริย์ อัครมเหสี ในการพระราชพิธีสำคัญ
  • พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระราชบัลลังก์ทองขนาดย่อม เมื่อมีพระราชพิธีจะเชิญมาทอดบนพระราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตรอีกชั้นหนึ่ง ใน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระมหากษัตริย์จะเสด็จขึ้นประทับบนพระราชบัลลังก์นี้ เพื่อเสด็จออกมหาสมาคมเป็นครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์ และในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี เพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล

สถาปัตยกรรม

แก้

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยยกพื้นเล็กน้อยกว้าง 21 เมตรยาว 31.50 เมตร หลังคามุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันจำหลักรูปพระอินทร์ ด้านหน้ามีพระทวารใหญ่เปิดออกสู่ท้องพระโรงด้านหน้า 3 บาน ด้านข้างมีพระบัญชรด้านละ 7 พระบัญชร และมีพระทวารออกสู่ด้านข้างอีกด้านละ 2 บาน

อ้างอิง

แก้
  • สำนักพระราชวัง. พระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, พ.ศ. 2547. 331 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-8274-98-5

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′01″N 100°29′31″E / 13.750406°N 100.492024°E / 13.750406; 100.492024