สถูปสาญจี (ฮินดี: साँची का स्तूप ; อังกฤษ: Sanchi) คำว่าสาญจี คือชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ในเขตรายเสน ของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 46 กิโลเมตร จากเมืองวันพีช และ 10 กิโลเมตรจากเมืองวิทิศา ในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ

กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
File:Sanchi_Great_Stupa_Torana.jpg
ประตูโตรณะด้านทิศตะวันออกของสถูปสาญจี
สาญจีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สาญจี
สาญจี
สาญจี (ประเทศอินเดีย)

ที่ตั้งของสถูปสาญจี ประเทศอินเดีย
พิกัด23°28′50″N 77°44′11″E / 23.480656°N 77.736300°E / 23.480656; 77.736300
ประเทศรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ประเทศอินเดีย
ภูมิภาค **เอเชีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i)(ii)(iii)(iv)(vi)
อ้างอิง524
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนพ.ศ. 2532 (คณะกรรมการสมัยที่ 13)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สถูปแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่รักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเปิดทำการให้สาธารณะเข้าชมในเวลา 8.00 –17.00 น.[1]

มหาสถูปสาญจี คือโครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งสร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือโครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตูโตรณะทั้ง 4 ด้านแกะสลักและตกแต่งอย่างหรูหรา และมีราวระเบียงล้อมรอบทั้งสถูป

สถูปสาญจี

แก้

กลุ่มพุทธสถานสาญจีในปัจจุบันประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาหลายยุคสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโมริยะ (พุทธศตวรรษที่ 3) ต่อเนื่องด้วยสมัยจักรวรรดิคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10) และสิ้นสุดลงในราวพุทธศตวรรษที่ 17 กลุ่มพุทธสถานแห่งนี้คงได้รับการอนุรักษ์ไว้ดีที่สุดในอินเดีย โดยอนุสรณ์สถานที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด คือ มหาสถูปซึ่งเรียกอีกอย่างว่า มหาสถูปหมายเลข 1 สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โมริยะ และประดับด้วยเสาอโศก ซึ่งในศตวรรษต่อมาโดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์ศุงคะและราชวงศ์สาตวาหนะ มหาสถูปได้รับการขยายและตกแต่งด้วยประตูและราวบันได และยังมีการสร้างสถูปขนาดเล็กในบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะสถูปหมายเลข 2 และ 3[2]

ในเวลาเดียวกันนั้น ยังมีการสร้างโครงสร้างวัดต่างๆ ลงมาจนถึงสมัยจักรวรรดิคุปตะและสมัยต่อๆมา โดยรวมแล้วสถูปสาญจีครอบคลุมถึงวิวัฒนาการส่วนใหญ่ของสถาปัตยกรรมอินเดียโบราณและสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาโบราณในอินเดีย ตั้งแต่ช่วงแรกของพุทธศาสนาและการแสดงออกทางศิลปะครั้งแรก จนถึงการเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย

ราชวงศ์โมริยะ (พุทธศตวรรษที่ 3)

แก้
 
เสาอโศกที่สาญจี
 
แผนผังของอนุสรณ์สถานบนหุบเขาสาญจี หมายเลข 1-50

มหาสถูปที่สาญจีเป็นโครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดและถูกสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งจักรวรรดิโมริยะในพุทธศตวรรษที่ 3 แก่นของสถูปคือโครงสร้างอิฐทรงครึ่งซีกที่สร้างขึ้นทับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า โดยมีระเบียงยกสูงล้อมรอบฐานและมีราวบันไดและร่มหินบนยอด หรือที่เรียกว่าฉัตรวลี ซึ่งเป็นโครงสร้างคล้ายร่มที่แสดงถึงยศศักดิ์สูง สถูปเดิมมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงครึ่งหนึ่งของสถูปในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายขนาดโดยชาวศุงคะ สถูปถูกปกคลุมด้วยอิฐ ซึ่งต่างจากหินที่ปกคลุมอยู่ในปัจจุบัน[3]

ตามบันทึกของมหาวงศ์ ซึ่งเป็นบันทึกของชาวพุทธในศรีลังกา พระเจ้าอโศกทรงมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับแคว้นสาญจี เมื่อพระองค์เป็นรัชทายาทและเสด็จไปเป็นอุปราชที่เมืองอุชเชน พระองค์ได้หยุดพักที่วิธิศะ (ห่างจากเมืองสาญจี 10 กิโลเมตร) และทรงแต่งงานกับธิดาของนายธนาคารในท้องถิ่นที่นั่น พระองค์มีพระนามว่าเทวี และต่อมาให้กำเนิดพระราชโอรส 2 พระองค์แก่พระเจ้าอโศก คือ อุชเจนิยะและมหินทร และพระราชธิดาอีก 1 พระองค์คือ สังฆมิตตา หลังจากพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ มเหนทรได้เป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่ศาสนาพุทธที่ส่งไปศรีลังกาภายใต้การอุปถัมภ์ของจักรพรรดิ และก่อนจะเสด็จไปยังเกาะนี้ พระองค์ได้ไปเยี่ยมพระมารดาที่เชติยาคีรีใกล้กับวิธิศะ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองสาญจี พระองค์ประทับอยู่ในวิหารหรืออารามอันโอ่อ่าที่นั่น ซึ่งเชื่อกันว่าพระมารดาได้สร้างขึ้น[4]

เสาหินทรายขัดเงาละเอียด ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาของพระเจ้าอโศก ได้ถูกตั้งขึ้นที่ด้านข้างของประตูโตรณะ ส่วนล่างของเสายังคงตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนบนของเสาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีสาญจีที่อยู่ใกล้เคียง หัวเสาประกอบด้วยสิงโตสี่ตัว ซึ่งอาจรองรับวงล้อแห่งธรรม (ธรรมจักร) เห็นได้จากภาพประกอบนูนต่ำของสาญจี เสานี้มีจารึกพระเจ้าอโศก (พระราชกฤษฎีกาแห่งการแตกแยก) และจารึกในสังขาลิปิ (Shankha Lipi) ประดับในสมัยคุปตะ จารึกพระเจ้าอโศกนั้นสลักด้วยอักษรพราหมียุคแรก แต่จารึกนี้ได้รับความเสียหายมาก คำสั่งที่อยู่ในจารึกนั้นเหมือนกับที่บันทึกไว้ในพระราชกฤษฎีกาสารนาถและโกสัมพี ซึ่งรวมกันเป็นสามกรณีของ "พระราชกฤษฎีกาแห่งการแตกแยก" ของพระเจ้าอโศก จารึกนี้เกี่ยวข้องกับบทลงโทษสำหรับการแตกแยกในคณะสงฆ์ของศาสนาพุทธ:

... ทางนั้นได้กำหนดไว้สำหรับทั้งภิกษุและภิกษุณี ตราบใดที่บุตรและเหลนของฉัน (ยังครองราชย์อยู่ และตราบใดที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (ยังคงดำรงอยู่) ภิกษุหรือภิกษุณีผู้ก่อให้เกิดความแตกแยกในคณะสงฆ์ จะต้องถูกบังคับให้สวมจีวรขาวและอยู่แยกจากกัน ฉันปรารถนาสิ่งใด? เพื่อให้คณะสงฆ์สามัคคีกันและดำรงอยู่ได้นาน

— พระราชกฤษฎีกาของพระเจ้าอโศกบนเสาสาญจี[5]

ราชวงศ์ศุงคะ (พุทธศตวรรษที่ 4)

แก้

จากหลักฐานของอโศกวาทนะ สันนิษฐานว่าสถูปอาจถูกทำลายในช่วงใดช่วงหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 4 เหตุการณ์นี้บางคนเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการขึ้นสู่อำนาจของพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะแห่งราชวงศ์ศุงคะ ซึ่งขึ้นครองอำนาจแทนจักรวรรดิโมริยะในฐานะแม่ทัพ มีการเสนอว่าปุศยมิตรอาจทำลายสถูปเดิม และพระเจ้าอัคนิมิตรซึ่งเป็นบุตรชายของพระองค์ได้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ สถูปอิฐเดิมถูกปกคลุมด้วยหินในช่วงสมัยศุงคะ รูปแบบการตกแต่งในสมัยศุงคะที่สาญจีมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับรูปแบบของภารหุต รวมไปถึงรั้วรอบนอกที่มหาโพธิวิหารในเมืองพุทธคยาด้วย

มหาสถูปหมายเลข 1 โครงสร้างและการตกแต่งยุคศุงคะ
(พุทธศตวรรษที่ 4)'
 
มหาสถูป
(ส่วนขยายของสถูปและรั้วล้อมรอบเป็นของ
ราชวงศ์ศุงคะ)
รั้วล้อมรอบที่ไม่ได้ตกแต่งซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 4

ภาพนูนบางส่วนบนราวบันได

ประตูโตรณะ

แก้
 
ประตูโตรณะ

สถูปสาญจีมีซุ้มประตูอยู่โดยรอบ เรียกว่าโตรณะ ลวดลายของซุ้มประตูเหล่านี้นำเสนอแนวคิดเรื่องความรัก สันติ ความจริง ความกล้า[6] ประตูและระเบียงรอบสถูปสร้างโดยราชวงศ์สาตวาหนะ ซึ่งมีศิลาจารึกปรากฏอยู่ตรงขอบบนสุดของประตูโตรณะทางทิศใต้ โดยช่างฝีมือของกษัตริย์ศาตกณี กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สาตวาหนะ

ดูเพิ่ม

แก้


อ้างอิง

แก้
  1. "Buddhist Monuments at Sanchi". UNESCO World Heritage Centre.
  2. Buddhist Circuit in Central India: Sanchi, Satdhara, Sonari, Andher, Travel Guide. Goodearth Publications. 2010. p. 12. ISBN 9789380262055.
  3. Marshall, "A Guide to Sanchi" p. 31
  4. Marshall, "A Guide to Sanchi" p. 8ff
  5. John Marshall, "A Guide to Sanchi" p. 93 Public Domain text
  6. Parul Pandya Dhar (1 ธันวาคม 2010). The Torana in Indian and Southeast Asian Architecture. New Delhi: D K Print World. ISBN 978-8124605349.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้