สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม สุชิน มงคลแถลง ฉายา อคฺคชิโน เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา[1] กรรมการมหาเถรสมาคม[2] ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4-5 และภาค 6-7 (ธรรมยุต)[3] แม่กองธรรมสนามหลวง[4] รองแม่กองงานพระธรรมทูต[5] หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 7[6] ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช[7]
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มกราคม พ.ศ. 2493 (74 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | ประโยค 1-2 นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 |
อุปสมบท | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 |
พรรษา | 54 |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4-5 (ธรรมยุต) และภาค 6-7 (ธรรมยุต) แม่กองธรรมสนามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 7 เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช |
ชาติภูมิ
แก้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า สุชิน มงคลแถลง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2493 ณ ตำบลปลายกลัด อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[8]
บรรพชาและอุปสมบท
แก้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 โดยมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสิริวัฒนเมธี (ทองคำ กมพุวณโณ) และพระราชภัทราจาร (เปล่ง กุวโม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิจิตรธรรมคุณ (เจียร เขมาจาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า อคฺคชิโน[8]
วิทยฐานะ
แก้- พ.ศ. 2510 - สอบได้ประโยค 1-2
- นักธรรมชั้นเอก
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2516 - เป็นพระครูฐานานุกรมในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) ที่ พระครูเมธังกร
- พ.ศ. 2518 - เป็นพระครูฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ที่ พระครูโฆสิตสุทธสร
- พ.ศ. 2519 - เป็นพระครูฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ที่ พระครูวิจารณ์ภารกิจ
- พ.ศ. 2523 - เป็นพระครูฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ที่ พระครูสุตตาภิรม
- พ.ศ. 2528 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชินวงศเวที[9]
- พ.ศ. 2535 - เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปฏิภาณโกศล วิมลกิจจาทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2540 - เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวรเมธี ศรีปฏิภาณโกศล สุวิมลคณาทรยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- พ.ศ. 2544 - เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวรเมธี ศรีปริยัตินายก ดิลกศาสนกิจ วิจิตรธรรมคุณาภรณ์ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
- พ.ศ. 2553 - เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมมุนี ศรีวาสนวรางกูร วิบูลสีลาจารโสภณ โกศลปริยัติวิธาน บริหารศาสนกิจ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
- พ.ศ. 2562 - เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต ชินวรุตมธรรมวาทปวิธ วิจิตรวาสนวรางกูร วิบูลสีลาจารวัตรราชานุวัตวิธาน ปริยัตยาธิการบริหารศาสนกิจ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี [14]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ คณะกรรมการสภาการศึกษา
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (ตอนพิเศษ 255 ง): 1. 14 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 9/2564". มหาเถรสมาคม. 9 เมษายน 2564. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "มส.ตั้ง "พระพรหมมุนี" ขึ้นนั่งแม่กองธรรมฯ". ไทยรัฐ. 12 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เสนอแต่งตั้งรองแม่กองงานพระธรรมทูต
- ↑ “สมเด็จพระสังฆราช” ทรงชี้คุณสมบัติสำคัญ 5 ประการของพระธรรมทูต พร้อมประทานใบตราตั้งหัวหน้าพระธรรมทูต 9 รูป
- ↑ "สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นปธ.ประชุมมส.นัดแรก ทรงตั้ง 'พระพรหมมุนี' เป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช". มติชนออนไลน์. 20 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 ตำนานพระพรหมมุนี, หน้า 225
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 20 ฉบับพิเศษ, เล่ม 103, 7 กุมภาพันธ์ 2529, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 101 ฉบับพิเศษ, เล่ม 109, 2 ธันวาคม 2540, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 26 ข, เล่ม 114, 2 ธันวาคม 2540, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตอนที่ 24 ข, เล่ม 118, 7 ธันวาคม 2544, หน้า 24
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 9 ข, เล่ม 128, วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554, หน้า 8-9
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 40 ข, เล่ม 136, วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, หน้า 4-5
- บรรณานุกรม
- สุเชาวน์ พลอยชุม. ตำนานพระพรหมมุนี. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558. 234 หน้า. หน้า 225-234. [พิมพ์ถวายพระพรหมมุนี (อคฺคชิโน) เนื่องในศุภวาระมงคลอายุ 65 ปี]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | ไฟล์:ตราแผนกธรรม.gif แม่กองธรรมสนามหลวง (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง | ||
พระสาสนโสภณ (อัมพร อมฺพโร) | เจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) (พ.ศ. 2550 - 2562) |
พระเทพเจติยาจารย์ (ยุทธศักดิ์ กิตติยุตฺโต) (รักษาการ) | ||
พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) | เจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต) (พ.ศ. 2562 - 2564) |
แยกเป็นภาค 4 - 5 (ธรรมยุต) และภาค 6 - 7 (ธรรมยุต) |