พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2492) ชื่อเล่น ป๊อด เป็นนายตำรวจและนักการเมืองชาวไทย ประธานที่ปรึกษาพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ | |
---|---|
![]() พัชรวาท ใน พ.ศ. 2567 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 2 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ภูมิธรรม เวชยชัย (พ.ศ. 2566–2567) สมศักดิ์ เทพสุทิน (พ.ศ. 2566–2567) ปานปรีย์ พหิทธานุกร (พ.ศ. 2566–2567) อนุทิน ชาญวีรกูล (พ.ศ. 2566–2567) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พ.ศ. 2566–2567) สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (พ.ศ. 2567) พิชัย ชุณหวชิร (พ.ศ. 2567) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อนุทิน ชาญวีรกูล ดอน ปรมัตถ์วินัย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ |
ถัดไป | ภูมิธรรม เวชยชัย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อนุทิน ชาญวีรกูล พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พิชัย ชุณหวชิร ประเสริฐ จันทรรวงทอง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | วราวุธ ศิลปอาชา |
ถัดไป | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 9 เดือน 20 วัน) | |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 เมษายน พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552 (1 ปี 5 เดือน 22 วัน) | |
รักษาการแทน | พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ (พฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ. 2551) พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี (สิงหาคม พ.ศ. 2552) พลตำรวจเอก ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ (กันยายน พ.ศ. 2552) |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มีนาคม พ.ศ. 2492 อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาสันติ (2554–2561) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สมถวิล วงษ์สุวรรณ |
ญาติ | ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พี่ชาย) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ทรัพย์สินสุทธิ | 129 ล้านบาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ชื่อเล่น | ป๊อด |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | ![]() |
ประจำการ | พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2552 |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล |
ประวัติ
แก้พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรคนที่ 3 ของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับ นางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีพี่น้อง 4 คน คือ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ (เสียชีวิตแล้ว) และ พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษารองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่สอง[3][4]
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 9 ปริญญาตรี โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมรสกับสมถวิล วงษ์สุวรรณ มีธิดา 2 คนได้แก่ พันตำรวจเอกหญิง เภสัชกรหญิง พัชรา วงษ์สุวรรณ เภสัชกรประจำโรงพยาบาลตำรวจ[5] (สมรสกับ พันตำรวจเอก ดวงโชติ สุวรรณจรัส ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ[6]) และ พันตำรวจโทหญิง นวพร วงษ์สุวรรณ นว.(สบ.2) ผบช.ภ.3[7]
เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีทั้งหมด 3 คน ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และดำรงตำแหน่งในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553
การทำงาน
แก้การรับราชการ
แก้พลตำรวจเอก พัชรวาท รับราชการที่กรมตำรวจ ในปี พ.ศ. 2516 ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้
- รอง สว. กองบังคับการการสนับสุนนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- รอง สว. กองทะเบียน แล้วย้ายมาดูงานกำลังพลที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.)
- สว. ธุรการ กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการสอบสวนกลาง
- ผกก.5 และ ผกก. 3 กองบังคับการตำรวจทางหลวง
- ผู้บังคับการกองพลาธิการ กรมตำรวจ
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
- ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ทนท.ประสานงานกระทรวงมหาดไทย)
- ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
- 4 กันยายน พ.ศ. 2551 รองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
การดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
แก้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เซ็นคำสั่งให้ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ไปช่วยราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มาเป็นรักษาการ ผบ.ตร. แทน และภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ทำเนียบรัฐบาลเสร็จสิ้นว่า ที่ประชุม ก.ต.ช. ซึ่งมีสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้ง พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รักษาการ ผบ.ตร. เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ แทน เสรีพิศุทธ์ โดยจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เสรีพิศุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง[8][9][10][11]
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช เพื่อควบคุมเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551[12] โดยพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน[13]
ต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ พัชรวาท กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ถือเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรืออธิบดีกรมตำรวจคนแรกที่ถูกสั่งย้ายแล้วสามารถกลับคืนสู่ตำแหน่งได้[14]
ต่อมาหลังจากเกิดเหตุลอบสังหารสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้น ทางนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มอบหมายให้ ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.กำกับดูแลคดีนี้โดยเฉพาะและให้รายงานความคืบหน้าของคดีต่อตัวนายกรัฐมนตรีเอง ซึ่งต่อมา ธานีได้ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่าการดำเนินคดีนี้มีอุปสรรคเป็น "ตอ" และ "ไส้ศึก" ในหมู่ตำรวจด้วยกันเอง[15] พันธมิตรฯ และหลายภาคส่วนในสังคมคาดการณ์ว่า หมายถึง พัชรวาท นี่เอง ได้มีกระแสเรียกร้องให้ปลดออกจากตำแหน่ง [16] จนในที่สุดอภิสิทธิ์ได้เข้าหารือกับ พัชรวาทด้วยตนเองที่บ้านพิษณุโลกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[17]ได้ข้อสรุปว่า พล.ต.อ. พัชรวาทจะเดินทางไปราชการที่ประเทศจีนเป็นเวลา 10 วัน และจะขอลาพักราชการต่อจากนั้น โดยในระหว่างลานี้ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ 10) รักษาการแทนในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552[18]
ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2552 เขาเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[19]
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ซึ่งมี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาคดีสั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งที่ประชุมมีมติชี้มูลความผิดนักการเมืองและนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุรุนแรงจนถึงขั้นผู้ชุมนุมบาดเจ็บสาหัส ถึงขนาดขาขาดแขนขาด ก็ต้องยับยั้งมิให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป และมีการให้การจากพยานว่า เป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมีความผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1 โดยส่งผลให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดยทันที [20]
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี และให้ ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดคดีอาญาและวินัยร้ายแรงจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ต่อมา พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[21] นับว่าเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรกที่ทำงานกับนายกรัฐมนตรีถึง 3 ราย ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่ามกลาง วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ที่ พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เป็นศัตรูกับพรรคประชาธิปัตย์ อย่างเด่นชัด
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)[22] ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคืนตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้กับ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ[23]
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คืนตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และยกเลิกการลงโทษปลดออกจากราชการ ให้แก่ พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ[24]
งานการเมือง
แก้ในปี พ.ศ. 2557 พลตำรวจเอก พัชรวาท ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[25] ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้แต่งตั้ง พลตำรวจเอก พัชรวาท เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[26] และ พลตำรวจเอก พัชรวาท ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็น 1 ใน 3 อดีตข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว (อีก 2 คน คือ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ และ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง)[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[28]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[29]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[30]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[31]
อ้างอิง
แก้- ประวัติ เก็บถาวร 2008-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, ป.ป.ช. เปิดบัญชี 'พัชรวาท วงษ์สุวรรณ' รวย 129 ล้านบาท มีรายได้ 647,140 บาท, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568
- ↑ พระราชทานยศพลตำรวจเอก
- ↑ }}ที่ปรึกษารองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ลูกสาว อดีต ผบ.ตร.ยึดมั่นคำพ่อสอน ทำงานรับใช้ชาติ ด้วยความอดทน". www.thairath.co.th. 2009-10-21.
- ↑ ""ผู้กำกับด้วง" เขย"วงษ์สุวรรณ" หัวเรือใหญ่สน.ทองหล่อ ฝ่าวิกฤตโควิด-19". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-04-11.
- ↑ "บัญชีแนบท้ายคำสั่งตำรวจภูธรภาค 3 ที่ 1730/2564" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-19. สืบค้นเมื่อ 2024-05-19.
- ↑ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ก.ต.ช.ตั้ง “พล.ต.อ.พัชรวาท” นั่งเก้าอี้ ผบ.ตร.คนใหม่ 11 เม.ย. 51 - 14:55[ลิงก์เสีย]
- ↑ "FOUR IN A ROW Seripisut out, Patcharawat in Prime Minister Samak Sundaravej may have ordered the transfer of national police chief General Seripisut Temiyavej to be seconded at the Prime Minister's Office pending further instruction and named Seripisut's deputy General Patcharawat Wongsuwan as the acting police chief, Government House officials said on Friday". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.
{{cite web}}
: line feed character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 44 (help) - ↑ คำสั่งเด้งผบ.ตร.
- ↑ แต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ↑ "ปลดฟ้าผ่า"พัชรวาท"เซ่นม็อบพันธมิตรฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-11-28.
- ↑ คืนความเป็นธรรม"พัชรวาท"กลับเก้าอี้ ผบ.ตร.[ลิงก์เสีย]
- ↑ นายกฯเผยธานีเจอตออีกคดีสนธิ7วันขยายผล
- ↑ ""สนธิ" เร่ง "มาร์ค" เชือด "ป๊อด"- ชี้ความผิดเพียบ/พี่ชายเหิมขู่นายกฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04.
- ↑ อภิสิทธิ์แจงพัชรวาทขอลา10วันไปตปท.
- ↑ "ตั้ง "วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" รักษาการ ผบ.ตร.!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04.
- ↑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
- ↑ "ป.ป.ช.ฟันอาญา "ป๊อด-สมชาย-จิ๋ว" สั่งฆ่า ปชช.7 ตุลาฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2009-09-07.
- ↑ พล.ต.อ.พัชรวาทลาออก ขอพักผ่อนก่อนเกษียณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ PICNI ตั้ง 'พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ' นั่งประธานบอร์ด
- ↑ "ศาลปกครอง" สั่ง คืนตำแหน่งให้ " พัชรวาท "
- ↑ "ASTVผู้จัดการออนไลน์, "ประยุทธ์" คืนตำแหน่ง ผบ.ตร. "พัชรวาท" มือเปื้อนเลือด 7 ตุลาฯ ชี้ตามคำสั่งศาลปกครอง, 24 กรกฎาคม 2557". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ชูน้อง‘บิ๊กป้อม’ รีเซตพลังประชารัฐดัน‘พัชรวาท’จ่อทำ งานใหญ่
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๐๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เก็บถาวร 2019-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ก่อนหน้า | พัชรวาท วงษ์สุวรรณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล ดอน ปรมัตถ์วินัย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ |
รองนายกรัฐมนตรีไทย (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 — 3 กันยายน พ.ศ. 2567) |
ภูมิธรรม เวชยชัย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อนุทิน ชาญวีรกูล พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พิชัย ชุณหวชิร ประเสริฐ จันทรรวงทอง | ||
วราวุธ ศิลปอาชา | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 — 3 กันยายน พ.ศ. 2567) |
เฉลิมชัย ศรีอ่อน | ||
พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 — 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551) |
พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ (รักษาการ) | ||
พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ (รักษาการ) | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 – 6 กันยายน พ.ศ. 2552) |
พลตำรวจเอก ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ (รักษาการ) |