ทวี สอดส่อง
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2502) เป็นอดีตข้าราชการตำรวจและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชาติ ประธานกรรมการคณะกรรมการราชทัณฑ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทวี สอดส่อง | |
---|---|
ทวี ในปี พ.ศ. 2565 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 34 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ เทพสุทิน วิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน) |
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2552 (1 ปี 171 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุนัย มโนมัยอุดม |
ถัดไป | ธาริต เพ็งดิษฐ์ |
หัวหน้าพรรคประชาชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 40 วัน) | |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กันยายน พ.ศ. 2502 อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาชาติ (2561–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ประจำการ | พ.ศ. 2527 – 2547 |
ยศ | พันตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง มีชื่อเล่นว่า "ฟิล์ม" หรือ "บิ๊กวี" เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2502 ที่บ้านท่าจันทร์ ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม รุ่นที่ 37 และปริญญาโทสาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1]
การทำงาน
แก้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เข้ารับราชการตำรวจเป็นรองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จนกระทั่งเป็นรองผู้บังคับการกองปราบปราม[1] และในปี พ.ศ. 2547 ได้โอนย้ายไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในปี พ.ศ. 2551 แทน สุนัย มโนมัยอุดม[2] ต่อมาย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และเป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี พ.ศ. 2554[3] ดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2557 จึงถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] และลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2561
ในปี พ.ศ. 2561 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ได้เข้าร่วมกับ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคประชาชาติ โดย พ.ต.อ.ทวี รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรคประชาชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคประชาชาติได้รับที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อเพียง 1 ที่นั่ง แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 วันมูหะมัดนอร์ มะทา ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้ พ.ต.อ.ทวี ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน[1][5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคประชาชาติได้ สส.บัญชีรายชื่อ 2 ที่นั่ง ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรคประชาชาติ ทำให้เขาได้รับเลือกตั้ง[6] และต่อมามีการจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยของชุดที่ 26 โดยที่ประชุมมีมติเลือก พ.ต.อ.ทวี อดีตเลขาธิการพรรค ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ส่วนตำแหน่งเดิมคือเลขาธิการพรรค เป็นของซูการ์โน มะทา น้องชายของวันมูหะมัดนอร์[7]
ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็น 1 ใน 3 อดีตข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว (อีก 2 คน คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ว่าที่ส.ส.ป้ายแดง-ประชาชาติ
- ↑ ข้อหาหมิ่นประมาท ทักษิณ ชินวัตร และย้าย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ รำลึก "ทวี สอดส่อง" ครบ 7 ปี "คสช." โยกพ้นเลขาศอ.บต. ปชช.แห่ให้กำลังใจ
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง)
- ↑ "รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ.2566 อย่างเป็นทางการ". official.ectreport.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-29. สืบค้นเมื่อ 2023-08-20.
- ↑ ""ทวี" ผงาดขึ้นหัวหน้าพรรคประชาชาติ "ซูการ์โน" เลขาฯ". สำนักข่าวอิศรา. 26 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๑๗๐, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ทวี สอดส่อง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | หัวหน้าพรรคประชาชาติ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 — ปัจจุบัน) |
ยังดำรงตำแหน่ง |