ธาริต เพ็งดิษฐ์

ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ อดีตคณะกรรมการสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน[1]อดีตคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้[2] และ อดีตอัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานคณะกรรมการอัยการ

ธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดำรงตำแหน่ง
19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ก่อนหน้าพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง
ถัดไปพลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552
ถัดไปภิญโญ ทองชัย
กรรมการศูนย์รักษาความสงบ
ดำรงตำแหน่ง
21 มกราคม พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
ศาสนาศาสนาพุทธ
คู่สมรสวรรษมล เพ็งดิษฐ์

ประวัติ

แก้

ธาริต เกิดที่โรงพยาบาลคริสเตียน ในตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมื่อแรกเกิดมีร่างกายไม่แข็งแรงนัก ต้องอยู่ในตู้อบที่โรงพยาบาลนานถึง 3 เดือน ผู้เป็นแม่จึงเดินทางด้วยเรือ ไปพบหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี[3][4] เพื่อขอให้ตั้งชื่อ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำจึงให้ชื่อว่า "เบญจ" (เป็นชื่อเดียวกับชื่อเล่นด้วย) เพื่อเป็นการแก้เคล็ดเนื่องจากพี่ของนายธาริตที่เกิดก่อนหน้านั้นถึง 4 ได้เสียชีวิตหมดตั้งแต่แรกคลอด เป็นหลานปู่ของ ร.อ.เจี๊ยบ เพ็งดิษฐ์ นายทหารคนใกล้ชิดจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งลาออกจากราชการและย้ายครอบครัวจากพระนครไปอยู่ที่จังหวัดชัยนาท หลังจอมพล ป.ถูกรัฐประหาร[5]

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นเข้าศึกษาต่อในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่น KU 37 แต่ด้วยความไม่ชอบและปรับตัวไม่ได้ กับระบบ "โซตัส" จึงลาออกไปสมัครเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในปี 2521 จนสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) และเนติบัณฑิตไทย รวมถึงนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6][7]

เมื่ออายุได้ 35 ปี จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นธาริต ตามหลักทักษาปกรณ์ตามความเชื่อของโหราศาสตร์ไทย โดยให้คำว่า ธ เป็นเดชนำหน้าชื่อ[3]

  • ปี 2519 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • ปี 2524 ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปี 2526 เนติบัณฑิตไทย
  • ปี 2532 ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[8]

การทำงาน

แก้

ก่อนรับราชการอัยการ ธาริตเป็นผู้ช่วยอาจารย์สอนกฎหมาย จนกระทั่งได้พบกับคณิต ณ นครในฐานะอาจารย์พิเศษ จึงแนะนำให้ธาริตไปสอบอัยการหลังเรียนจบนิติศาสตร์มหาบัณฑิต และธาริตก็สอบได้เป็นอัยการ[9] จนกระทั่งดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ได้ระดมนักกฎหมายหลายคน เช่น คณิต ณ นคร, เรวัติ ฉ่ำเฉลิม ร่วมก่อตั้งพรรค ซึ่งในจำนวนนั้นมีธาริตอยู่ด้วย ทำให้หลังจากที่พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง ธาริตจึงได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยทำงานกับพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันนายธาริตยังเป็นเป็นคณะที่ปรึกษาของพันศักดิ์ วิญญรัตน์อีกด้วย

ภายหลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการของหน่วยงานนี้เป็นคนแรก

เมื่อมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ธาริตได้โอนมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดี และต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแทน ทวี สอดส่อง ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ธาริต เป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อครั้งมีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2553 แต่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการด้านยุทธการ[10] นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการดำเนินคดีทางการเมืองหลายคดี

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เขารับคำร้องที่พรรคเพื่อไทยฟ้องร้องถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพื่อเอาผิดต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[11]

ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้มีประกาศกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษโดยมีมติ ว่ารับกรณี สุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นคดีพิเศษ[12]

ในระหว่างเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ธาริตเป็นกรรมการในศูนย์รักษาความสงบในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[13]และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้ช่วยเลขานุการ[14]ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ธาริตได้รับการต่ออายุราชการภายหลังเกษียณอายุราชการในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[15]ณ ขณะนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เนื่องจาก ถวิล เปลี่ยนศรีถูกโยกย้ายเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[16]เนื่องจากเป็นกรรมการและเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)แต่ธาริต เพ็งดิษฐ์ กลับได้ต่ออายุราชการทั้ง ๆ ที่เป็นกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2557 หลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

และยังได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ในช่วง ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2557 ถึง 19 พฤษภาคม 2557[17]

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และ ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ[18]

ข้อวิจารณ์

แก้
  • กรณีที่ไม่สั่งฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กรณีปราศัยเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก[19]เนื่องจากข้อความที่นายจตุพรกล่าวปราศัยนั้น ทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
  • กรณีคดีเงินบริจาคน้ำท่วม กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยออกหนังสือถึงประชาชนผู้บริจาคน้ำท่วมผ่านทางพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2553 โดยขอให้ไปชี้แจงต่อดีเอสไอ ว่าการบริจาคดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 หรือไม่[20]ถูกวิจารณ์กว่าเป็นการกระทำเกินกว่าอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
  • กรณีรับเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพื่อเอาผิดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[21]เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ายื่นหนังสือให้เอาผิดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  • กรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น[22]เขาทำหนังสือแจ้งว่าไม่พบการกระทำผิดและทำหนังสือยกเลิกการอายัดทรัพย์สิน ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557[23] แต่ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 กรมสอบสวนคดีพิเศษมีการแจ้งข้อกล่าวหาบุคคลอาทิ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร รวมถึงออกหมายจับ พระธัมมชโย

คดีความ

แก้

ในปี พ.ศ. 2558 นายธาริตถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สั่งอายัดทรัพย์ จำนวน 90,260,687 บาท[24]มีการแจ้งข้อกล่าวหาเขาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558[25] นอกจากนั้นยังมีคดีความอีก 26 คดี[26]ส่วนใหญ่เป็นคดีอาญาฐาน หมิ่นประมาท และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

ในปี พ.ศ. 2559 นายปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีกล่าวหาว่านายธาริตร่ำรวยผิดปกติ พร้อมด้วยนายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. ร่วมกันแถลงมติที่ประชุม ป.ป.ช. ชุดใหญ่ ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ 7:0 ชี้มูลความผิดนายธาริตในคดีดังกล่าว พร้อมส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้พิพากษาให้ทรัพย์สินของนายธาริต คู่สมรส และผู้เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 346,652,588 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน[27] คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่า สมควรลงโทษ นายธาริต โดยการ ลงโทษไล่ออกจากราชการ[28]

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560 ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งจำคุก 2 ปี นาย ธาริต แต่ลดโทษเป็นรอลงอาญา 2 ปี[29]กรณี ย้าย พ.อ.ปิยะวัฒน์ กิ่งเกตุ โดยมิชอบ

ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ศาลฎีกาได้มีคำสั่งศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.310/2556 ให้รับฟ้องกรณี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ ฟ้อง นายธาริต ว่าฟ้องร้องเขาโดยไม่สุจริต เจตนากลั่นแกล้ง[30] ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.812/2559 ที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ว. กับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ให้พนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ และหมิ่นประมาท

ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 นาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ จำคุกที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในคดี อ.495/2556[31]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ธาริต เพ็งดิษฐ์ เคยได้รับและถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์[32] ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  2. "คณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2016-05-26.
  3. 3.0 3.1 หน้า 5, พายุลูกล่าสุด : 'ธาริต เพ็งดิษฐ์' กับชีวิต 'เปลี่ยนสี'? . คมชัดลึกปีที่ 16 ฉบับที่ 5666: วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560
  4. ชีวประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์
  5. "ธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นหลานปู่ของ ร.อ.เจี๊ยบ เพ็งดิษฐ์ นายทหารคนใกล้ชิด จอมพล ป. พิบูลสงคราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2012-09-03.
  6. เส้นทางวัยรุ่นการศึกษา ธาริต เพ็งดิษฐ์
  7. ธาริต ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  8. ธาริต จบปริญญาโท ในด้านกฎหมาย
  9. นายธาริตเป็นผู้ช่วยอาจารย์สอนกฎหมาย
  10. ธาริต เป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
  11. เพื่อไทยยื่นเอาผิดตุลาการรธน.
  12. มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษโดยมีมติ
  13. มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษโดยมีมติ
  14. มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษโดยมีมติ
  15. ต่ออายุ”ธาริต”คุมดีเอสไอ รางวัลจากการเปลี่ยนสี?
  16. วิจารณ์ ถูกโยกย้ายเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  17. ศอ.รส.เฉดหัว“ถวิล” โวไม่มีที่ว่าง-กลัวความลับรั่ว
  18. ไล่ออกราชการ ธาริต
  19. "ธาริต วิจารณ์ แกนนำ นปช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-26. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  20. ปชป.โวยดีเอสไอสอบปมเงินบริจาคน้ำท่วม
  21. เพื่อไทยยื่นเอาผิดตุลาการรธน.
  22. เบื้องหลัง! โชว์หนังสือ‘ศุภชัย’ขอ‘ธาริต’รับรองสหกรณ์ฯ-สยบข่าวลือบริหารพลาด?
  23. ยลโฉมที่ดิน 36 แปลงโคราช‘ศุภชัย’ ก่อนขายใช้หนี้สหกรณ์ฯ-‘ธาริต’เซ็นเพิกถอน
  24. ป.ป.ช. มติเอกฉันท์ 7:0 ชี้มูล “ธาริต เพ็งดิษฐ์” ร่ำรวยผิดปกติ ชงศาลยึดทรัพย์ 346 ล้าน – อดีตอธิบดีดีเอสไอเตรียมตั้งทนายสู้
  25. ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา 'ธาริต'รวยผิดปกติ พ.ย.นี้
  26. นิยายชีวิต “ธาริต เพ็งดิษฐ์” อธิบดี 3 รัฐบาล ผู้ทำงานรับใช้ทุกสี กับบทสรุปที่เลือกจบเองไม่ได้
  27. ป.ป.ช. มติเอกฉันท์ 7:0 ชี้มูล “ธาริต เพ็งดิษฐ์” ร่ำรวยผิดปกติ ชงศาลยึดทรัพย์ 346 ล้าน – อดีตอธิบดีดีเอสไอเตรียมตั้งทนายสู้
  28. ป.ป.ช.ชง ‘บิ๊กตู่’ไล่‘ธาริต’ออกราชการ! ถูกฟันรวยผิดปกติ-ไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูง
  29. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ 'ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ' ร่วมทำผิด 'ธาริต เพ็งดิษฐ์' ปมสั่งย้าย 'ปิยะวัฒน์ กิ่งเกตุ' โดยมิชอบ ให้รอลงอาญา 2 ปี
  30. ศาลฎีกาสั่งประทับรับฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ฟ้องธาริตและทีม ปมสรุปสำนวนคดีสลายแดง 53 โดยไม่สุจริต
  31. คุม ‘ธาริต’ เข้าเรือนจำ ‘ทนายสุเทพ’ ขยี้เหตุต้อง ‘คุก’ ย้ำ 396 โรงพักถูกต้อง เผยติดต่อเจรจาหลายครั้ง!!
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓๘ ข หน้า ๒, ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๕, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  35. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙