เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ด้วยการสรรหา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
เรืองไกร ใน พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (255?–2561)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
พลังประชารัฐ (2564–2565, 2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอโนทัย ลีกิจวัฒนะ
บุตร2 คน

ประวัติ

แก้

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของนายสุขุม และนางจารุวรรณ ลีกิจวัฒนะ จบการศึกษามัธยมจากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ(บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางอโนทัย ลีกิจวัฒนะ มีบุตร 2 คน

การทำงาน

แก้

เรืองไกรเป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกของสังคมด้วยการปรากฏเป็นข่าวในต้นปี พ.ศ. 2549 ว่า กรมสรรพากรได้คืนเช็คให้แก่นายเรืองไกร แต่นายเรืองไกรไม่ได้ไปขึ้นเงิน เพราะเป็นกรณีเปรียบเทียบกับกรณีที่กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปได้ ซึ่งนายเรืองไกร ซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต่อจากบิดาในราคา 10 บาท จากราคาตลาด 21 บาท ต้องเสียภาษี แต่กรณีของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์กลับไม่ต้องเสียภาษี และนายเรืองไกรยังได้ยื่นฟ้องร้องเรื่องการที่กรมสรรพากรกระทำการนี้ด้วยสองมาตรฐานอีกด้วย

จากกรณีนี้ทางฝ่ายพรรคไทยรักไทยและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวหาว่า นายเรืองไกรมีความสนิทสนมกับคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายตน

หลังจากนั้น นายเรืองไกรได้สมัครลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยได้หมายเลข 222 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

นายเรืองไกรได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในแบบสรรหา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งนายเรืองไกรจัดอยู่ในกลุ่ม 40 สว.

หลังจากนั้น ชื่อของนายเรืองไกรปรากฏเป็นข่าวอีกในเดือนพฤษภาคม ว่าได้ยื่นฟ้องร้อง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่าการจัดรายการโทรทัศน์ชิมไป บ่นไป ทางช่อง 3 เป็นการผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ตัดสินให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่ง


แต่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 นายเรืองไกรที่เคยมีท่าทีว่าเป็นผู้ตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพวกมาโดยตลอด กลับไปร่วมเสวนากับทางกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายต่อหลายครั้ง โดยเริ่มจากการเสวนาของกลุ่มกรุงเทพ 50 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ จนถูกตั้งข้อสงสัยถึงเรื่องจุดยืน[1][2] นายเรืองไกรเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย [3] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 41[4]ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 42/2557 เรียกเขาให้ไปรายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์[5]เขาถูกทหารควบคุมตัวอีกครั้งในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 และออกจากมณฑลทหารบกที่ 11 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558[6]ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.812/2559 ที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ว. กับธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ให้พนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ และหมิ่นประมาท

ในปี พ.ศ. 2561 เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ และต่อมาหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการคณะกรรมาธิการ ในปี พ.ศ. 2564 เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[7] ต่อมา มกราคม พ.ศ. 2565 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐสืบเนื่องมาจากพรรคถอนออกจากร่วมรัฐบาล [8] และ กลับเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกใหม่อีกรอบเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2565[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ บนเวทีเสวนาเสื้อแดง ซึ่งผู้เข้าร่วมงานถึงกับถามว่าเขาเสื้อสีอะไรกันแน่ และนายเรืองไกร ไม่ได้ตอบอะไร แต่ยกเนคไทสีแดงขึ้นมาโชว์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-27. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  2. "สว.เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" ในตอนนี้หลายคนอาจคิดว่า เขาเป็นเพียงนักฉวยโอกาสจนก้าวสู่ตำแหน่ง สว. หรือเป็นนักตรวจสอบที่เป็นกลาง ที่ไม่สนว่าเป็นใคร สีอะไรกันแน่ คงต้องให้เวลาพิสูจน์ตัวเขาต่อไป
  3. "เรืองไกร" ดิ้นสู้ ศาลรธน.หนีเกมเชือดยกเข่ง ประเด็นที่มา ส.ว.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/101/3.PDF
  6. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423455579
  7. หนังสือพิมพ์ออนไลน์มติชน วันที่ 3 มิถุนายน 2564 - 16:53 น.
  8. หนังสือพิมพ์ออนไลน์มติชน วันที่ 23 มกราคม 2565 - 10:44 น.
  9. หนังสือพิมพ์ออนไลน์เดลินิวส์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 - 14:16 น.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้