ถวิล เปลี่ยนศรี

ถวิล เปลี่ยนศรี (5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 - ) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[1] ที่ปรึกษาส่วนตัวด้านความมั่นคงของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ[2]กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ[3]ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61

ถวิล เปลี่ยนศรี
ถวิล ในปี พ.ศ. 2554
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าพลโท สุรพล เผื่อนอัยกา
ถัดไปพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
ดำรงตำแหน่ง
28 เมษายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
ก่อนหน้าพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร
ถัดไปอนุสิษฐ คุณากร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
คู่สมรสวรรณภา เปลี่ยนศรี

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559[4]กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[5]

อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อดีตกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[6] อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง อดีตผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงกิจการชายแดนและการป้องกันประเทศ อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ และอดีตผู้อำนวยการกองความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ

ประวัติ แก้

ถวิล เปลี่ยนศรี เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาติดตามครอบครัวย้ายไปอยู่ที่จังหวัดตรังตั้งแต่เด็ก สมรสกับนางวรรณภา เปลี่ยนศรี ผู้ประสานงานรัฐบาลไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ น.ส.ปรัชนัน เปลี่ยนศรี

การศึกษา แก้

จบการศึกษาระดับ มศ.5 จากโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี, ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2518) และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2525), ระดับปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2523), ฝึกอบรมหลักสูตร Senior Executive Course ของ APCSS, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 46, หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.) รุ่นที่ 38 สำนักงาน ก.พ., หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก (วทบ.) หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 45, หลักสูตรหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ และหลักสูตรรักษาความปลอดภัย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

การทำงาน แก้

รับราชการแห่งแรกที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ต่อมาสอบโยกย้ายเข้า สมช. ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล 3, ผู้อำนวยการกองความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ, ผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงกิจการชายแดนและการป้องกันประเทศ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 9 บส), ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ย้ายเป็น ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช)[7],วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ย้ายเป็น รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[8] จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[9] แทน พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา ที่ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำเช่นกัน

ต่อมาวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้ถวิลไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ต่อมาในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ถวิลกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตามเดิม และในที่สุดในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แก่ถวิล เปลี่ยนศรี ภายใน 45วัน ถวิล เปลี่ยนศรีได้กลับเข้าดำรงตำแหน่งเลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557[10]

ในเหตุการณ์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออก พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2557 ถึง 19 พฤษภาคม 2557 ให้เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งโดยปกติ ถวิล เปลี่ยนศรี ต้องเป็นกรรมการ ในศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย[11]แต่ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ประธานที่ปรึกษา ศอ.รส. ไม่ยอมให้เขาเป็นกรรมการ ในศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของผู้ขึ้นเวที กปปส. อีกด้วย

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[12]ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เขาพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เขานับเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เนื่องจากโดยธรรมเนียมตำแหน่งดังกล่าวบุคคลที่เป็นประธานกรรมการ มักเป็น ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งเป็นบุคคลที่มียศกองอาสารักษาดินแดน และก่อนหน้าที่เขาจะดำรงตำแหน่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง พลเอก วิโรจน์ บัวจรูญ เป็นประธานกรรมการในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

และยังได้รับการแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาส่วนตัวด้านความมั่นคงของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ[13]กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ[14]ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559[15]กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  2. ชีวประวัติ ถวิล เปลี่ยนศรี[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ เพิ่มเติม
  4. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559
  5. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  8. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน[ลิงก์เสีย]
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีและเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ถวิล เปลี่ยนศรี)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ 2014-04-29.
  11. ศอ.รส.เฉดหัว“ถวิล” โวไม่มีที่ว่าง-กลัวความลับรั่ว
  12. ได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการเรื่องการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  13. ชีวประวัติ ถวิล เปลี่ยนศรี[ลิงก์เสีย]
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ เพิ่มเติม
  15. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559
  16. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๐๐, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๘๒, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น แก้