เขตบางกะปิ

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อำเภอบางกะปิ)

บางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้) มีย่านที่สำคัญคือ ย่านบางกะปิ

เขตบางกะปิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Kapi
ถนนศรีนครินทร์ในเขตบางกะปิ
ถนนศรีนครินทร์ในเขตบางกะปิ
คำขวัญ: 
บางกะปิ แหล่งรวมอุดมศึกษา ล้ำค่าพิพิธภัณฑ์ปราสาท เกร็ดประวัติศาสตร์ของวัดวา เลื่องชื่อลือชาราชมังคลากีฬาสถาน ศูนย์กลางเศรษฐกิจชั้นนำ ล่องสายน้ำแสนแสบคลองของถิ่นเรา
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกะปิ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกะปิ
พิกัด: 13°45′57″N 100°38′52″E / 13.76583°N 100.64778°E / 13.76583; 100.64778
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.523 ตร.กม. (11.013 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด141,360[1] คน
 • ความหนาแน่น4,956.00 คน/ตร.กม. (12,836.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10240, 10250 (เฉพาะหมู่บ้านเสรี)
รหัสภูมิศาสตร์1006
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 189 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangkapi
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อ

แก้

ที่มาของชื่อ "บางกะปิ" นั้นมีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า "กบิ" หรือ "กบี่" ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก "กะปิ" ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก บ้างว่า มาจากชื่อหมวก "กะปิเยาะห์" ของชาวมุสลิม เนื่องจากพื้นที่นี้มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก ซึ่งการแต่งกายของชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะสวมหมวกคลุมหัว[3]

ประวัติ

แก้

พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม

เมื่อมีผู้คนอาศัยหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งใน พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท

ในช่วง พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง

ต่อมาใน พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง และเนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง กอปรกับมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่มใน พ.ศ. 2532 และรวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลางใน พ.ศ. 2540

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
คลองจั่น Khlong Chan
12.062
73,827
6,120.63
 
8.
หัวหมาก Hua Mak
16.461
67,533
4,102.61
ทั้งหมด
28.523
141,360
4,956.00

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตวังทองหลาง เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตสะพานสูง และเขตคันนายาว

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้
 
เรือโดยสารคลองแสนแสบบริเวณท่าวัดเทพลีลา
 
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีบางกะปิ
ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด
  • ถนนแฮปปี้แลนด์
  • ถนนกรุงเทพกรีฑา
  • ถนนหัวหมาก
  • ถนนโพธิ์แก้ว
  • ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
  • ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
  • ซอยรามคำแหง 24
ทางราง
ทางน้ำ

สถานที่สำคัญ

แก้
 
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
 
ราชมังคลากีฬาสถาน
 
วัดเทพลีลา

สถานศึกษา

แก้

สนามกีฬา

แก้

ศาสนสถาน

แก้

ศูนย์การค้า

แก้

อื่น ๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. "แฟนพันธุ์แท้ 2003 : กรุงเทพมหานคร". แฟนพันธุ์แท้ 2003. 2003-08-22.
  3. "ที่มาของคำว่า "บางกะปิ"". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  4. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้