วัดพระไกรสีห์
วัดพระไกรสีห์(น้อย) อักษรย่อ วกส. เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ ในแขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซอย รามคำแหง 23
วัดพระไกรสีห์ | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดพระไกรสีห์, วัดกลิ่นวิไลยธาราม, วัดน้อย |
ที่ตั้ง | เลขที่ 60 ซอยรามคำแหง 23 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
![]() |
วัดพระไกรสีห์ วัดเก่าแก่ย่านรามคำแหง ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เดิมมีชื่อว่า วัดกลิ่นวิไลยธาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2381[1] ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทำสงครามกับญวนโดยการนำของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ถือโอกาสให้ทหารในกองทัพร่วมกันสร้างวัดเทพลีลา ด้วยเหตุที่วัดเทพลีลาตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันและมีถาวรวัตถุใหญ่โตและมั่นคงกว่า อีกทั้งเวลาพายเรือผ่านมักได้กลิ่นหอมกลุ่นมาจากภายในบริเวณวัดน้อย ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกว่า วัดกลิ่นวิไลยธารามว่า และเรียกชื่อ วัดน้อย ตามประวัติข้างต้น เกจิดัง ยุคสงครามอินโดจีน พระครูสิทธิสารคุณ ( จาด คงฺคสโร ) แห่งวัดบางกระเบา ท่านเคยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระไกรสีห์(น้อย) ราวๆ 2 พรรษา พ.ศ. 2437 - 2438 สมัยรัชกาลที่ 5
โบสถ์เก่า "มหาอุตม์" (ปัจจุบันรื้อแล้ว) ท่านเจ้ามา แห่ง วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร พระเกจิดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วง พ.ศ. 2456 ท่านได้นิมิตฝันว่าพบพระประธานเก่าแก่องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในโบสถ์เก่าทรุดโทรม มีพุทธศิลป์วิจิตรสวยงาม จึงค้นหาจนมาพบว่า คือที่วัดน้อยนี้ จึงได้ชักชวนลูกศิษย์ของท่าน เช่น เจ้ากรมเป๋อ , พระครูสอน วัดมักกะสัน พระครูสุนทราจารย์(จุ้ย) และญาติโยมอีกหลายท่าน ร่วมกันบริจาคทรัพย์และที่ดิน ในการนี้มีแม่พันเป็นหัวเรือฝ่ายฆราวาส รวมที่นาได้ทั้งหมด 18 ไร่ 2 งาน รวมเงินได้ทั้งสิ้น 312 บาท จึงได้ทำการบูรณะโบสถ์ที่ทรุดโทรม และ ปิดทองพระประธาน พระประธานหล่อด้วยสำริด เป็นของเก่ามาจากสุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20 ปางมารวิชัย
รายนามเจ้าอาวาส
อุโบสถย์หลังใหม่ ก่อสร้างในยุคของพระอธิการถวัลย์ โดยทำการก่อสร้างตามแบบ ก. ของกรมศิลปากร โดยได้ขอพระราชทานอัญเชิญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร( ปัจจุบัน ในหลวงรัชกาลที่ 10 ) เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นประธานในการตัดลูกนิมิต เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 พระสมเด็จฐานทอง ปี 19 ถือเป็นสุดยอดพระเครื่องของชาวศิษย์วัดพระไกรสีห์และใกล้เคียง ด้วยมวลสารจาก วัดระฆัง บางขุนพรหม และ จาก ลป.ทอง วัดราชโยธา อีกทั้งได้รับการปลุกเสกจากเกจิชื่อดังหลายรูป เช่น ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ลป.ทอง วัดก้อนแก้ว ลป.เส็ง วัดบางนา ลป.เส็ง วัดกัลยา ลพ.แพ วัดพิกุลทอง ลพ.ครื้น วัดสังโฆ ลพ.คูณ วัดบ้านไร ลพ.เปิ่น วัดบางพระ เป็นต้น หลายคนที่ห้อยคอต่างมีประสบการณ์
- พระอธิการมั่น
- พระอธิการจัน
- พระจือ
- พระอธิการแก้ว
- พระครูเพิ่ม
- พระอธิการถวัลย์
- พระครูอุดมพัฒนคุณ
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.