ถนนรามคำแหง

ถนนในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

ถนนรามคำแหง (อักษรโรมัน: Thanon Ramkhamhaeng) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 18 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ

  1. ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี
  2. ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์[1]
ถนนรามคำแหง แยกร่มเกล้า

ประวัติ

แก้

ถนนรามคำแหงสันนิษฐานว่าสร้างต่อมาจากถนนสุขุมวิท 71 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2498–2505 ปรากฏในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร พ.ศ. 2506 ในระยะแรกมีชื่อเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนพระโขนง–คลองตัน–บางกะปิ"

ต่อมามีการกำหนดชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท 71" แต่ประชาชนบางส่วนเรียกชื่อถนนสายนี้ตั้งแต่ช่วงสี่แยกคลองตันถึงสะพานข้ามคลองแสนแสบ เขตบางกะปิว่า ถนนคลองตัน–บางกะปิ ทำให้เกิดความเข้าใจสับสน

ในช่วง พ.ศ. 2500–2504 ได้สร้างถนนสุขาภิบาล 3 ไปเชื่อมต่อเขตมีนบุรี[2]

เมื่อมีการขยายถนนให้กว้างขึ้นพร้อมกับการขยายถนนสายสุขาภิบาล 3 ซึ่งต่อจากถนนสายนี้ไปออกทางเขตมีนบุรี เขตบางกะปิจึงมีดำริที่จะตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่เป็น "ถนนรามคำแหง"[3]

รายละเอียดเส้นทาง

แก้

ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี

แก้

เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นที่แยกคลองตันในพื้นที่เขตสวนหลวง ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแยกรามคำแหง (จุดตัดกับถนนพระราม 9) ผ่านแยกวัดเทพลีลา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ,การกีฬาแห่งประเทศไทย ไปสิ้นสุดที่แยกลำสาลีในพื้นที่เขตบางกะปิ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร[4] มีทางยกระดับช่วงตั้งแต่ซอยรามคำแหง 13 หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ จนถึงซอยรามคำแหง 81/4 สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ราชมังคลากีฬาสถาน (ศูนย์กีฬาหัวหมาก) วัดพระไกรสีห์ และวัดเทพลีลา

อนึ่ง ถนนรามคำแหงช่วงสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี ฝั่งขาเข้าเมือง จะไม่มีซอยรามคำแหง 6

ทางแยกในถนนรามคำแหงช่วงสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี มีดังนี้

โดยถือว่าเป็นถนนที่มีการจราจรที่ติดขัดและคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร[4]

ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์

แก้

ถนนช่วงนี้เดิมชื่อว่าถนนสุขาภิบาล 3[5] เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกลำสาลีในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพ่วงศิริ ผ่านแยกบ้านม้า (จุดตัดกับถนนศรีบูรพา) เข้าพื้นที่เขตสะพานสูง ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก เข้าพื้นที่เขตมีนบุรี โดยถนนจะขยายเป็น 8 ช่องจราจร ผ่านแยกลาดบัวขาว (จุดตัดกับถนนมีนพัฒนา) และแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า (จุดตัดกับถนนร่มเกล้า) ไปสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า วัดศรีบุญเรือง วัดบางเพ็งใต้ โรงเรียนเทพอักษร โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี และการเคหะมีนบุรี

ทางแยกในถนนรามคําแหงช่วงสี่แยกลําสาลีถึงแยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ มีดังนี้

ไป บางกะปิ, แยกการไฟฟ้า

ระบบขนส่งมวลชน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. tednok, preeya (2017-09-18). "เลาะดูคอนโดฯย่านรามคำแหง /เอกชนลุ้นปรับสีผังเมืองใหม่รับรถไฟฟ้าสายสีส้ม". prop2morrow.
  2. วริศรา ตั้งจิตเจริญพงศ์. "กระบวนการขยับบ้านหลังย้ายขึ้นจากคลองพิชัยของเคหะชุมชนเพชรคลองจั่น เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. p. 39.
  3. "ถนนรามคำแหง". Digital Archive RU. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "10 อันดับถนนที่รถติด ไม่จำเป็นอย่าไปในกรุงเทพฯ". รู้ใจ.com. 2015-03-25.
  5. ๛tum๛ (2011-09-24). "ในกรุงเทพฯ มีถนนสุขาภิบาล ๑, ๒, ๓ และ ๕ มีที่มาอย่างไร แล้วถนนสุขาภิบาล ๔ อยู่ตรงไหนของกรุงเทพฯ ครับ???". พันทิปดอตคอม.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°46′40″N 100°40′27″E / 13.777868°N 100.674045°E / 13.777868; 100.674045