เขตลาดพร้าว
ลาดพร้าว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ)
เขตลาดพร้าว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Lat Phrao |
ไร่ดอกทานตะวัน ใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในเขตลาดพร้าว | |
คำขวัญ: แหล่งนิวาสสถาน ร้านอาหารเลื่องชื่อ งามระบือเจดีย์ใหญ่ วัดวาอารามงามวิไล ปวงประชาร่วมใจพัฒนา | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตลาดพร้าว | |
พิกัด: 13°48′13″N 100°36′27″E / 13.80361°N 100.60750°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 22.157 ตร.กม. (8.555 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 113,197 คน |
• ความหนาแน่น | 5,108.86 คน/ตร.กม. (13,231.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1038 |
ต้นไม้ ประจำเขต | มะพร้าว |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 208 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตลาดพร้าวตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขน มีคลองหลุมไผ่ คลองสามขา คลองโคกคราม และคลองตาเร่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ และเขตวังทองหลาง มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวาง มีถนนสังคมสงเคราะห์ ถนนโชคชัย 4 คลองทรงกระเทียม และคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองลาดพร้าวและคลองบางบัวเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้เดิมเขตลาดพร้าวมีฐานะเป็น ตำบลลาดพร้าว ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลลาดพร้าวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงลาดพร้าว และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางกะปิ
ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้ง เขตลาดพร้าว และเขตบึงกุ่ม จนกระทั่งใน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวใหม่ โดยแบ่งพื้นที่แขวงจรเข้บัวเฉพาะส่วนที่อยู่ฟากเหนือคลองสามขา คลองโคกคราม และคลองตาเร่งไปเป็นพื้นที่ของเขตบางเขนและเขตคันนายาว และแบ่งพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าวไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง
และในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยได้โอนพื้นที่บางส่วนของเขตวังทองหลางมาเป็นส่วนหนึ่งของแขวงลาดพร้าว
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตลาดพร้าวแบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ลาดพร้าว | Lat Phrao | 15.102 |
87,268 |
5,778.57 |
|
2. |
จรเข้บัว | Chorakhe Bua | 7.055 |
25,929 |
3,675.27
| |
ทั้งหมด | 22.157 |
113,197 |
5,108.86
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตลาดพร้าว[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 127,124 | ไม่ทราบ |
2536 | 131,888 | +4,764 |
2537 | 134,107 | +2,219 |
2538 | 135,128 | +1,021 |
2539 | 138,467 | +3,339 |
2540 | 105,158 | โอนพื้นที่บางส่วนของแขวงจรเข้บัวขึ้นกับเขตบางเขน |
2541 | 106,704 | +1,546 |
2542 | 107,372 | +668 |
2543 | 108,125 | +753 |
2544 | 109,619 | +1,494 |
2545 | 114,067 | ได้รับพื้นที่บางส่วนจากเขตวังทองหลาง |
2546 | 115,656 | +1,589 |
2547 | 116,301 | +645 |
2548 | 117,711 | +1,410 |
2549 | 119,168 | +1,457 |
2550 | 120,417 | +1,249 |
2551 | 121,366 | +949 |
2552 | 122,371 | +1,005 |
2553 | 122,520 | +149 |
2554 | 122,180 | -340 |
2555 | 122,152 | -28 |
2556 | 122,441 | +289 |
2557 | 122,196 | -245 |
2558 | 121,843 | -353 |
2559 | 121,000 | -843 |
2560 | 120,394 | -606 |
2561 | 119,709 | -685 |
2562 | 118,574 | -1,135 |
2563 | 117,108 | -1,466 |
2564 | 115,602 | -1,506 |
2565 | 114,275 | -1,327 |
2566 | 113,197 | -1,078 |
การคมนาคม
แก้- ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- ถนนประเสริฐมนูกิจ
- ถนนลาดปลาเค้า
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ถนนสังคมสงเคราะห์
- ถนนนาคนิวาส
- ถนนโชคชัย 4
- ถนนลาดพร้าววังหิน
- ถนนสุคนธสวัสดิ์
- ถนนสตรีวิทยา 2
- ถนนเสนานิคม 1
- ถนนอยู่เย็น (รามอินทรา 34)
สถานที่สำคัญ
แก้โรงเรียน
- โรงเรียนสตรีวิทยา 2
- โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม
- โรงเรียนโชคชัย
- โรงเรียนอนุบาลโชคชัย ลาดพร้าว
- โรงเรียนฤทธิไกรศึกษา
- โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
- โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
วัด
สถานที่อื่นๆ
การสาธารณสุข
แก้- โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โชคชัย 4
- ศูนย์แพทย์เสนาเวชการคลินิก
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม จรเข้บัว
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม จันทร์–ทองอินทร์ ดวงเด่น
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ศูนย์บำบัดยาเสพติด2ลาดพร้าว
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 10 มกราคม 2566.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2559. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2559.