โรงเรียนสตรีวิทยา 2
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ” (อักษรย่อ: ส.ว.๒) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษาและเป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ Satriwitthaya 2 School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°49′52″N 100°36′57″E / 13.830985°N 100.615814°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ว.๒ (SW2) |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | เรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม |
สถาปนา | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ; 50 ปีก่อน |
ผู้ก่อตั้ง | คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1010238002 |
ผู้อำนวยการ | ดร.อัฏฐผล ถิรพรพงษ์ศิริ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย |
เพศ | สหศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 4,378 (พ.ศ. 2561) |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเกาหลี |
สี | สีขาว – สีแดง |
เพลง | มาร์ชสตรีวิทยา ๒ |
ดอกไม้ประจำโรงเรียน | พิกุล |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็นนามพระราชทานอยู่ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งอยู่เลขที่ 29 ซอยสุคนธสวัสดิ์ 3 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
เมื่อ พ.ศ. 2516 นางสาวสุ่น พานิชเฮง มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 19 ตารางวา เพื่อสร้างเป็นโรงเรียน คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยาในขณะนั้นได้รับเรื่องจากกรมสามัญศึกษามาดำเนินการก่อตั้งเป็นโรงเรียนแห่งใหม่
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ นางสาวสุ่น พานิชเฮง ดร.ก่อ สวัสดิพานิช (อธิบดีกรมสามัญศึกษา) กรรมการสตรีวิทยา สมาคมและนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อสนองพระราชดำริเรื่องการก่อตั้งโรงเรียนและมีพระเมตตาพระราชทานนามโรงเรียนว่า “สตรีวิทยา ๒” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นชาวสตรีวิทยา ๒ จึงถือว่าวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่สถาปนาโรงเรียนนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมานางหลง ไว้สาลี น้องสาวของนางสาวสุ่น พานิชเฮง ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 24 ไร่ 77 ตารางวา เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2518 คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ได้นำนางหลง ไว้สาลี เข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินดังกล่าวเพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้นต่อมาคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ได้ติดต่อขอเช่าที่ดินของมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์เพิ่มเติมอีก 36 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวน 80 ไร่ 45 ตารางวา ซึ่งขณะนั้นที่ดินเป็นทุ่งนาทุรกันดาร ยังไม่มีไฟ้ฟ้าใช้ นางสมหมาย เอมสมบัติ ผู้บริหารโรงเรียนคนแรกเป็นผู้ติดต่อกับการไฟฟ้านครหลวงจนสามารถนำไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชนได้สำเร็จ ก่อนเปิดภาคเรียน
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ซึ่งติดกับที่ตั้งโรงเรียน เป็นสถานที่ศึกษาชั่วคราว มีนักเรียน 277 คน ครู 13 คน แบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (มศ.๑) จำนวน ๕ ห้อง มัธยมศึกษาปีที่ 4 (มศ.๔) จำนวน 2 ห้อง สภาพของโรงเรียนในปี พ.ศ. 2517 การคมนาคมสู่โรงเรียนยากลำบากถนนเป็นดิน ถ้ามีฝนตกรถจะไม่สามารถเข้าถึงโรงเรียนได้ ทั้งครูและนักเรียนต้องถอดรองเท้าเดินทางเข้าโรงเรียน จากสภาพดังกล่าว ทำให้การก่อสร้างโรงเรียนประสบความยากลำบากนานัปการแต่ก็สามารถสร้างอาคารกลุ่มแรก จำนวน 4 หลัง ได้สำเร็จลงในระยะเวลาเพียง 1 ปี อาคารกลุ่มแรกตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนชื่อ“อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์”
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิด “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์" เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 และยังทรงพระเมตตาต่อชาวสตรีวิทยา ๒ ทรงปลูกต้นพิกุลที่เกาะหน้าอาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ ชาวสตรีวิทยา ๒ จึงน้อมนำดอกพิกุลไม้มหามงคลนี้เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน การก่อสร้างโรงเรียนในกลุ่มที่ 2 จำนวน 4 หลัง แล้วเสร็จ พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนกลุ่มที่ 2 นามว่า “อาคารวชิรา” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวสตรีวิทยา ๒ เป็นล้นพ้น
พ.ศ. 2524 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ขยายเต็มรูปแบบคือ รับนักเรียน 6 ระดับ 12 ห้องเรียน รวมเป็น 72 ห้องเรียน จึงเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ทำให้มีงบประมาณแผ่นดินและงบบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธามาสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างอีกมากมายได้แก่ อาคารนวราชชนนี อาคารหอสมุดนพ บุณยุปการ อาคารไขศรี ปราโมช อาคารคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ อาคารพลศึกษา อาคาร 7 ชั้น 2 หลัง อาคารฝึกงาน อาคารเฉลิมกระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา อาคารโอษธีศ สนามเทนนิส“จึงพานิช“ นอกจากนี้ยังได้งบประมาณสร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน ให้นักเรียนว่ายน้ำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีและเป็นสถานที่แข่งขันว่ายน้ำนักเรียนระดับประเทศพิกุลแชมเปี้ยนชิพเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน
ด้วยคุณภาพความรู้และคุณธรรม โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงเป็นโรงเรียนผู้ปกครองปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในปีการศึกษา 2536 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ มีชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 80 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 3,610 คน แต่ก็ยังมีผู้ประสงค์จะเข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ อีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนมีถึง 84 ไร่เศษ กรมสามัญศึกษาต้องการใช้ปัจจัยทั้งหมดให้คุ้มค่าโดยจะให้มีการเปิดสอนระดับละ 20 ห้องเรียนรวมเป็น 120 ห้องเรียน
จึงให้แยกโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็น 2 โรงเรียน โรงเรียนที่ตั้งเพิ่มขึ้นใช้ชื่อ "โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น" เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และส่งนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ปี พ.ศ. 2544 กรมสามัญศึกษาพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น ได้ดำเนินการสำเร็จเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่สมบูรณ์แบบ พร้อมด้วยครูอาจารย์ อาคารสถานที่และคุณภาพของผู้เรียนประสบผลสัมฤทธิ์ ในระดับสูงแสดงถึงการวางระบบงานที่มีประสิทธิภาพ จึงให้รวมโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้นเเละโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อให้การส่งต่อผู้เรียนและการพัฒนาด้านต่างๆเป็นไปอย่างสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สุด มีคุณภาพระดับแนวหน้าของประเทศไทยสืบไป จึงประกาศรวมโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี | ||
รายชื่อ | วาระ | |
---|---|---|
1. สมหมาย เอมสมบัติ | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2529 | |
2. ศิริลักษณ์ นันทพิศาล | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533 | |
3. สมภาพ คมสัน | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537 | |
4. ลือชา สร้อยพาน | พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2540 | |
5. ณรงค์ ตามรักษา | พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545 | |
6. เชิดชัย พลานิวัติ | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2551 | |
7. ดร.เกษม สดงาม | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2556 | |
8. ดร.พชรพงศ์ ตรีเทพา | พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 | |
9. ดร.ธีรัช ไชยยศ | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562 | |
10. ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ | พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567 | |
11. ดร.อัฏฐผล ถิรพรพงษ์ศิริ | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน | |
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น (พ.ศ. 2537-2544) | ||
รายชื่อ | วาระ | |
1. สมภาพ คมสัน | พ.ศ. 2537 | |
2. อุดร บุญถาวร | พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541 | |
3. สุรินทร์ ต่อเนื่อง | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 | |
4. ณรงค์ ตามรักษา | พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 |
รางวัล
แก้- รางวัลเหรียญทอง ยอดเยี่ยมวงโยธวาทิตประเภท Open จากการแข่งขันวงโยธวาทิตโลก “Kuala Lampur World Marching Band Competition ครั้งที่ 3” ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 12–21 ธันวาคม 2552 [1]
- รางวัล Best of The best , The best of cheer , The best creative ในรายการ Sponsor Thailand championship 2011 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี (แชมป์ประเทศไทย) โดยคณะจามจุรี โรงเรียนสตรีวิทยา 2
แผนการเรียน
แก้ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (จำนวน 52 ห้องเรียน)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้มข้นสู่สากล "ISM" (3 ห้องต่อระดับชั้น)
- ห้องเรียนพิเศษ English Program "EP" (3 ห้องต่อระดับชั้น)
- ภาษาอังกฤษเข้มข้น (3 ห้องต่อระดับชั้น)
- ภาษาจีนเข้มข้น (1 ห้องต่อระดับชั้น)
- คอมพิวเตอร์เข้มข้น (2 ห้องต่อระดับชั้น)
- ห้องเรียนทั่วไป (5 ห้องต่อระดับชั้น)
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (จำนวน 54 ห้องเรียน)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้มข้นสู่สากล "ISM" (2 ห้องต่อระดับชั้น)
- ห้องเรียนพิเศษ English Program "EP" (2 ห้องต่อระดับชั้น)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ "AI" (1 ห้องต่อระดับชั้น)
- อังกฤษ-ฝรั่งเศส (1 ห้องต่อระดับชั้น)
- อังกฤษ-ญี่ปุ่น (1 ห้องต่อระดับชั้น)
- อังกฤษ-เกาหลี (1 ห้องต่อระดับชั้น)
- อังกฤษ-จีน (2 ห้องต่อระดับชั้น)
- อังกฤษ-สังคม (2 ห้องต่อระดับชั้น)
- อังกฤษ-คณิตศาสตร์ (2 ห้องต่อระดับชั้น)
- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (4 ห้องต่อระดับชั้น)
สัญลักษณ์
แก้ตราสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็นรูปดอกพิกุลมีรัศมี 21 แฉก ประดิษฐานอยู่เหนืออักษรย่อ "ส.ว.๒" ซึ่งเป็นอักษรย่อของโรงเรียน โดยรัศมี 21 แฉกนั้น หมายถึงวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (21 ตุลาคม พ.ศ. 2443) พร้อมอักษรบาลี "พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี" (ความพร้อมเพรียงเป็นกำลังของหมู่คณะ) ประดิษฐานอยู่ใต้อักษรย่อ ส.ว.๒ และยังเป็นปรัชญาประจำโรงเรียนอีกด้วย
อนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ภายในโรงเรียนคือ อนุสาวรีย์สมเด็จย่า หรืออนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งอยู่ทางด้านหน้าโรงเรียน
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
พระพุทธรูปประจำโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มี 2 รูป ด้วยกัน คือ "พระมหากรุณาธิคุณ" ตั้งอยู่ฝั่งชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และพระพุทธชินศรีรัตนะมุนี ตั้งอยู่หน้าอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
ดอกไม้ประจำโรงเรียน คือ ดอกพิกุล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงปลูกหน้าอาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ในช่วงแรกของการก่อตั้งโรงเรียน
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้สภาผู้แทนราษฎร
- กันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
- ภัทราภรณ์ ประพฤติรัตน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
วิชาการ
- ศาสตราจารย์ ดร.เสาวภา อังสุภานิช นักวิจัยผู้ค้นพบสัตว์พื้นใต้น้ำชนิดใหม่ของโลก 15 ชนิด
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ดร.เกษตร อรุณศรี นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิทิตนันท์ โรจนพานิช หัวหน้าทีมปีนเขา ,ผู้อำนวยการผลิตรายการเรียลริตี้โชว์ ,ผู้ฝึกสอนการแสดงของโรงเรียนบางกอกการละคร
- นพ.กอบชัย กาญจนาพงศ์กุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลพระราม 9
- พญ.นุชนาถ พุทธรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลศิริราช
- พญ.จันทิมา ศรีธระชิยานนท์ แพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อ.นพ.กฤษพร สัจจวรกุล อาจารย์แพทย์ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤตโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- ผุสชา โทณะวณิก ผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการพูด การนำเสนอ การเป็นพิธีกรให้แก่คนรุ่นใหม่
- ศุภกร ภัทรธนกุล อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทหารและตำรวจ
- นาวาอากาศเอกจงเจต วัชรานันท์ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นนักแสดงจากภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- เรือเอกบุญศักดิ์ พลสนะ ทหารกองทัพเรือ
- ร้อยตำรวจโทหญิงณิชชาอร จินดาพล ตำรวจ
- กุลวุฒิ วิทิตศานต์ (วิว) รุ่น 40 - ผู้บังคับหมู่ ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กีฬา
- รดมยศ มาตรเจือ นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย
- ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ (นิว) - นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย ,นักฟุตบอลสโมสร
- สลักจิต พลสนะ (มิ้ง) รุ่น 27 - นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย ,อดีตเเชมป์หญิงประเทศไทย
- บุญศักดิ์ พลสนะ (เเมน) - อดีตนักกีฬาแบดมินตันชายทีมชาติไทย
- กุลวุฒิ วิทิตศานต์ (วิว) รุ่น 40 - นักแบดมินตันชาย (แชมป์โลกประเภทชายเดี่ยวคนปัจจุบัน)
- ณิชชาอร จินดาพล (เเน็ต) - อดีตนักกีฬาแบดมินตัน
นักร้องและวงดนตรี
- อานนท์ สายแสงจันทร์ (ปู แบล็คเฮด) - นักร้องวงดนตรี "แบล็คเฮด"
- กอบภพ ใบแย้ม (เต้ย) - สมาชิกรุ่นแรกวงซิลลี่ ฟูลส์
- จักรินทร์ จูประเสริฐ (ต้น) - สมาชิกวงซิลลี่ ฟูลส์
- พูนศักดิ์ จตุระบุล (อ๊อฟ) - สมาชิกวงบิ๊กเเอส ,ผู้บริหารค่าย จีนี่เรคคอร์ดส
- อภิชาติ พรมรักษา (หมู) - สมาชิกวงบิ๊กเเอส
- อิศรา กิจนิตย์ชีว์ (ทอม) - สมาชิกวงรูมเธอร์ตีไนน์
- ธันวา บุญสูงเนิน (ทอย เดอะทอยส์) - นักแต่งเพลง
- สุธีวัน กุญชร (ใบเตย อาร์สยาม) - นักร้อง
- เปรมินท์ วงศ์เบี้ยสัจจ์ (มินท์) รุ่น 26 - นักร้อง
- รัตท์ริชา ประภากิติ (ไซซี) รุ่น 41 - สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ป ซิสซี่ ,นักแสดง
- กิตติพัฒน์ พุ่มสุโขรักษ์ (ติ๊ก) - นักร้องสังกัดเอสพี ศุภมิตร
- นรีทิพย์ ศรีสัตนาควงศ์ (ตอย) - นักร้อง
- ภาคย์ รัตนฐิตินันต์ (แฮปปี้) - นักร้อง
- จีราพัชร จงกลสงเคราะห์ (จอย) - นักร้อง
- ศุภวิชญ์ บุญเกษม (เจมส์) - นักร้อง
บุคคลในวงการบันเทิง
- วิทิตนันท์ โรจนพานิช (หนึ่ง) - ผู้กำกับภาพยนตร์
- รวิวรรณ จินดา (อุ้ย) - นักแสดง
- กีรติ เทพธัญญ์ (เอ๊าะ) รุ่น 17 - นักแสดง พิธีกรรายการครัวคุณต๋อย ,ทูเดย์โชว์ (ช่อง 3)
- เมย์ เฟื่องอารมย์ รุ่น 19 - นักแสดง ,นางแบบ
- ยศสินี ณ นคร (จ๋า) รุ่น 21 - ผู้จัดละครช่อง 3
- วีระชัยศรีวณิก วรรณึกกุล (หนอ วีระชัย) - อดีตนักแสดง
- พัสวีพิชญ์ ศรณ์อัครภา (แจ๋ว) - นักแสดง ,นางแบบ
- วาสนา พลเยี่ยม (วสา) - นักแสดง
- รวิช ไรวินท์ (กุ้ง) - นักเเสดง
- กัญญา ไรวินท์ (หญิง) รุ่น 22 - นักเเสดง ,พิธีกร
- พรรษชล สุปรีย์ (แป้ง) รุ่น 24 - นักแสดง
- พิชชา อาภากาศ (บิ๋ม) รุ่น 25 - นักแสดง
- ดาวิเด โดริโก้ (เดย์) รุ่น 28 - นักเเสดง ,ดีเจ
- ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์ (ฟรอยด์) รุ่น 29 - นักแสดง
- ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ (พีค) รุ่น 30 - นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง รัก สาม เศร้า
- โมนิก้า เมอลเลอร์ (โม) รุ่น 30 - รองอันดับ 2 Miss Teen Thailand 2005
- อัญชสา มงคลสมัย (ใบเฟิร์น) - นักแสดง
- รักษ์วนีย์ คำสิงห์ (เบสท์) - นักเเสดง ,ยูทูบเบอร์
- ปรีชญา พงษ์ธนานิกร (ไอซ์) รุ่น 32 - นักแสดง
- พัสกร พลบูรณ์ (ใบเฟิร์น) รุ่น 32 - นักแสดง
- ภัทรภณ โตอุ่น (รอน) รุ่น 32 - นักแสดง จากละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องพรหมลิขิต
- ธาราเขต เพ็ชร์สุกใส (เขต) รุ่น 33 - นักแสดง
- จิรกิตต์ ถาวรวงศ์ (เมฆ) รุ่น 36 - นักแสดง ,นักร้อง
- พีรวัส แสงโพธิรัตน์ (คริส) รุ่น 37 - นักแสดง
- วรนิษฐ์ ถาวรวงศ์ (มุก) รุ่น 38 - นักแสดง ,นักร้อง
- วิชญ์พล สมคิด (ไนซ์) รุ่น 43 - นักแสดง
- หทัยชล ดูร์มาซ (ตีญ่า) รุ่น 43 - นักเเสดง
- ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์ (บีม) - นักเเสดง ,ดีเจ
- วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ (ไม้) - นักเเสดง
- ภวัต จิตต์สว่างดี (โอม) - นักแสดง
- วราลักษณ์ วาณิชย์กุล (จอย วราลักษณ์) - นางแบบ
- อภิรัฐ ชลาชล (หนึ่ง) - นักแสดง
- ช่อฟ้า เหล่าอารยะ (ปูน) - ผู้ประกาศข่าว ช่อง 7
- ธัญชนก ผดุงเกียรติวงษ์ (จูน) - พิธีกร
- วรวีร์ วูวนิช - อดีตผู้ประกาศข่าว
- สุตา สุธีพิเชฐภัณฑ์ (นุ้ย) - ผู้ประกาศข่าว ช่อง 9
- ชุติมา พึ่งความสุข (นุ่น) - ผู้ประกาศข่าว ช่อง 9
โรงเรียนที่เกี่ยวข้อง
แก้- โรงเรียนสตรีวิทยา
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล (โรงเรียนสตรีวิทยา 3)
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 (โรงเรียนสตรีวิทยา 4)
- โรงเรียนสตรีวิทยาอุปถัมภ์
- โรงเรียนสตรีวิทยาอุปถัมภ์ 2
สถานที่ใกล้เคียงโรงเรียน
แก้- ตลาดทรัพย์นิมิตร (ด้านหน้าโรงเรียน)
- วัดสาครสุ่นประชาสรรค์
- โรงเรียนเพชรถนอม
- สนามฝึกซ้อมกอล์ฟเกียรติธาดา
- ตลาดเเยกโรงไม้
- สวนสาธารณะบึงน้ำ ลาดพร้าว 71
- โรงเรียนโชคชัย
- เดอะวอร์ค เกษตร-นวมินทร์
- ดีไซน์วิลเลจ เกษตร-นวมินทร์
- สำนักงานเขตลาดพร้าว
- เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์
- เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา
- ตลาดหัวมุม
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2011-05-04.