วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำและอดีตราชองครักษ์พิเศษ [1]
วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี | |
---|---|
ปลัดกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556 | |
ก่อนหน้า | ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ |
ถัดไป | สมชัย ศิริวัฒนโชค |
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555 | |
ก่อนหน้า | ถวิล เปลี่ยนศรี |
ถัดไป | ภราดร พัฒนถาบุตร |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กันยายน 2553 – 14 ตุลาคม 2554 | |
ก่อนหน้า | พัชรวาท วงษ์สุวรรณ |
ถัดไป | เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วิเชียร โพธิ์ศรี 14 มีนาคม พ.ศ. 2496 อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น |
คู่สมรส | กิ่งดาว พจน์โพธิ์ศรี |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | พลตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นบุตรของนายพจน์ และนางหนูเกตุ โพธิ์ศรี จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 28 ปริญญาโท จาก 3 สถาบัน คือ คณะพัฒนบริหารศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท ด้านกฎหมายเศรษฐกิจ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังจบหลักสูตร F.B.I. รุ่น 159, หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 388 และหลักสูตรบริหารงานตำรวจ จากประเทศอังกฤษอีกด้วย[2] และต่อมายังได้ก่อตั้งเครือข่ายของ F.B.I. ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่า F.B.I.N.A. แห่งประเทศไทย โดยถือเป็นสมาคมนักเรียนเก่าของ F.B.I. สถาบันแรกในโลกที่ก่อตั้งขึ้นนอกพื้นที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย[3]
พล.ต.อ.วิเชียร ได้รับการติดยศ พลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ในตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (นรป.) ซึ่งถือว่าครองยศ พล.ต.อ. ก่อนรอง ผบ.ตร. และผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนอื่น ๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่อมา พล.ต.อ.วิเชียร ถูกโยกมาดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง และรับผิดชอบงานด้านรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง (ศรส.ลต.ตร.) ตลอดจนงานดูแลความสงบในการชุมนุมทางการเมือง ซึ่ง พล.ต.อ.วิเชียร มีผลงานในเรื่องการควบคุมสถานการณ์ในวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้อย่างดีเยี่ยมจนได้รับการยกย่อง
ชื่อของ พล.ต.อ.วิเชียร เป็นที่สนใจของสาธารณชนเมื่อได้รับคำสั่งจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 2 ครั้ง ซึ่งลาพักราชการตามคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และอีกครั้งในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยก่อนหน้านั้น พล.ต.อ.วิเชียรดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิเชียรได้เข้าดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการการตำรวจแห่งชาติ เพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่รุมเร้าเนื่องจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ถูกสังคมบางส่วนเพ่งเล็งว่าเป็น "ตอ" ทำให้คดีลอบยิงนายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์และสื่อในเครือผู้จัดการ ไม่มีความคืบหน้า พล.ต.อ.วิเชียร มีนามสกุลเดิมว่า "โพธิ์ศรี" แต่ได้นำชื่อของบิดามาเพิ่มต่อหน้านามสกุล[4] มีชื่อเล่นว่า "น้อย" ขณะที่เพื่อน ๆ จะเรียกกันว่า "นายน้อย"[5] สมรสกับนางกิ่งดาว พจน์โพธิ์ศรี โดยถือเป็นคู่เขยกับ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจ[6] มีบุตรชาย 2 คน และ บุตรสาว 2 คน คือ นางสาวชื่นสุข พจน์โพธิ์ศรี, นางสาวพัชรเพ็ญ พจน์โพธิ์ศรี, ร.ต.อ.ธนชัย พจน์โพธิ์ศรี และ นายกมลพัฒน์ พจน์โพธิ์ศรี
ประวัติการทำงาน
แก้- รอง สว.ผ. 5 กก.สส.น.
- รอง สว.ผ. ศึกษาอบรม กก.นผ.บก.อก.บช.น.
- รอง สว.ผ.1 กก.สส.น. พระนครใต้
- ผู้ช่วยนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ
- นายตำรวจราชสำนักประจำ
- ผู้กำกับการนายตำรวจราชสำนักประจำ
- รองผู้บังคับการนายตำรวจราชสำนักประจำ
- ผู้ช่วยหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ
- ผู้ช่วยหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ
- รองหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (เทียบเท่ารองผู้บัญชาการ)
- รองหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (เทียบเท่าผู้บัญชาการ)
- รองหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 10) (เทียบเท่าผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)
- หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (เทียบเท่ารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) (พ้น 25 กันยายน พ.ศ. 2549)
- ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายความมั่นคง)
- ที่ปรึกษา (สบ 10) และ รักษาการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ปลัดกระทรวงคมนาคม
การดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำที่สำคัญ
แก้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
แก้ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กตช.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ด้วยมติเอกฉันท์ 9:0 หลังจากที่ตำแหน่งนี้ว่างเว้นมายาวนานเกือบหนึ่งปี[7] ซึ่งมีพลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนกว่า 336 วัน
จากนั้นในวันที่ 6 กันยายน ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน ปีเดียวกัน[8]
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
แก้จากนั้นพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับตำแหน่งจากนั้นได้รับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในปี 2554 และปลัดกระทรวงคมนาคม ในปี 2555 จนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[14]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ
- ↑ เปิดประวัติ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. รักษาการฯ
- ↑ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ‘ผมเป็นนักประสาน’ [ลิงก์เสีย]
- ↑ รายการเช้าข่าวข้น คนข่าวเช้าทางช่อง 9 : วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
- ↑ ข่าวภาคค่ำ ช่อง 9 วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
- ↑ รายการเช้าวันใหม่ ทางช่อง 3 : วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
- ↑ มติเอกฉันท์9/0ดัน วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี นั่งผบ.ตร.คนใหม่[ลิงก์เสีย]จากเนชั่นแชนแนล
- ↑ โปรดเกล้าฯตั้ง วิเชียร เป็นผบ.ตร.แล้ว[ลิงก์เสีย] จากเดลินิวส์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ SENARAI PENERIMA DARJAH KEBESARAN PERSEKUTUAN TAHUN 2011 SEMPENA SAMBUTAN ULANG TAHUN HARI KEPUTERAAN RASMI SERI PADUKA BAGINDA YANG DI-PERTUAN AGONG
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 129 ตอนที่ 18 ข หน้า 5, 24 พฤษภาคม 2555
ก่อนหน้า | วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (2 กันยายน พ.ศ. 2553 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554) |
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ |