คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สัญลักษณ์ประจำคณะ คือ พังงา ซึ่งเป็นรูปพวงมาลัยที่ใช้บังคับทิศทางการเดินเรือพานิชย์ โดยสื่อความหมายถึง การนำทางให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่หวังไว้
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Kasetsart Business School |
---|---|
ที่อยู่ | 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
วันก่อตั้ง | 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 - คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 - แยกออกจากคณะเศรษฐศาสตร์ |
คณบดี | ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง (รักษาการแทนคณบดี) |
วารสาร | วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal) |
สีประจำคณะ | สีฟ้าใส |
สัญลักษณ์ | พังงา |
เว็บไซต์ | www.bus.ku.ac.th |
เฟซบุ๊ก | คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
![]() | |
ประวัติแก้ไข
ก่อน พ.ศ. 2481 กรมสหกรณ์ในกระทรวงเกษตราธิการ ได้จัดอบรมวิชาสหกรณ์เนื้อหาการอบรมมุ่งเน้นการบริหารธุรกิจในรูปสหกรณ์ เช่น ปรัชญา แนวคิดของการรวมกลุ่มธุรกิจสหกรณ์ การจัดทำบัญชี การจัดการทั่วไป เป็นต้น โดยการจัดอบรมนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคณะสหกรณ์ในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2481 กระทรวงเกษตราธิการ ต้องการให้มีการพัฒนาการเรียนอย่างจริงจัง จึงจัดตั้ง วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นเป็นองค์กรที่จัดหลักสูตรอย่างเป็นทางการ และเป็นอิสระในการบริหารการศึกษา ดังนั้นแผนกวิชาสหกรณ์ จึงถูกตั้งขึ้น โดยมหลักสูตรการศึกษา 3 ปี เริ่มรับนิสิตในต้นปี พ.ศ. 2482 และผลิตผู้สำเร็จวิชาสหกรณ์รุ่นแรก ออกมาในปลายปี พ.ศ. 2484 และจัดการศึกษาเรื่อยมาโดยแก้ไขหลักสูตรมาโดยตลอด
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือกำเนิดขึ้น แผนกวิชาสหกรณ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "คณะสหกรณ์" ซึ่งนับเป็นคณะรุ่นแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเช่นกัน เปิดการสอนถึงขั้นอนุปริญญาสืบมาจน พ.ศ. 2495 และมีผู้จบอนุปริญญารุ่นแรกปี 2486 จำนวน 18 คน การศึกษาของคณะแยกเป็น 4 แผนก คือ แผนกวิชาสหกรณ์ แผนกวิชาบัญชี แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแผนกวิชานิติศาสตร์ โดยอาคารสถานที่เรียนในขณะนั้นอยู่ที่กรมสหกรณ์ท่าเตียน (ท่าราชวรดิฐ)[1][2]
พ.ศ. 2495 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 8 แผนก คือ สหกรณ์ บัญชี เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์กสิกรรม สังคมวิทยา นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และวิชาเบ็ดเตล็ด
ในปี พ.ศ. 2499 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะฯ ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น "คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์" โดยแยกการเรียนการสอนเป็น 2 สาขาคือ สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ และสาขาบัญชีและธุรกิจ พร้อมทั้งได้ย้ายเข้ามาทำการ ณ เกษตรกลาง บางเขน ทั้งหมด[3]
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 คณะฯ ได้เปลี่ยนชื่ออีกเป็นครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อว่า "คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ" และประกอบด้วย 7 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาการตลาด แผนกวิชาบัญชี แผนกวิชาบริหารธุรกิจ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร แผนกวิชาสหกรณ์ และแผนกวิชาสถิติ[4]
เมื่อปี พ.ศ 2535 ได้แยกคณะออกจากคณะเศรษฐศาสตร์เป็นอีกคณะหนึ่งชื่อว่า "คณะบริหารธุรกิจ" เป็นคณะหนึ่งในจำนวนสิบสามคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 ตอนที่ 120 วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2535 ทั้งนี้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) จึงเป็นผลให้มีการจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการ ภาควิชาบัญชี ภาควิชาการตลาด และภาควิชาการจัดการการผลิต[5]
โดยคณะบริหารธุรกิจมีหน้าที่ให้ผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิต จัดการเรียนการสอน การค้นคว้าวิชา การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินงานมา ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน[6][7]
หน่วยงานแก้ไข
ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะบริหารธุรกิจ
ความร่วมมือแก้ไข
- มหาวิทยาลัย
- คณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายพันธมิตร กับสถาบันการศึกษา และองค์กรธุรกิจชั้นนำ ในการที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว ในด้านของสถาบันการศึกษานั้น คณะบริหารธุรกิจมีความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำใน สหรัฐอเมริกา เช่น University of Oregon และ Oregon State University ขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยอื่นในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น Royal Institute of Technology, The University of Western Australia, Murdoch University ณ นครเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
- สถาบัน/องค์กร
- คณะบริหารธุรกิจได้ร่วมมือกับองค์กรธุรกิจชั้นนำต่าง ๆ ในการพัฒนาการศึกษาทางด้าน บริหารธุรกิจของ ประเทศ องค์กรเหล่านี้ ประกอบด้วย เครือซีเมนต์ไทย กลุ่มโอสถสภา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น
หลักสูตรแก้ไข
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตบัณฑิต (บธ.บ.)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) |
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
ทำเนียบคณบดีแก้ไข
- นับแต่คณะบริหารธุรกิจก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี ดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. รองศาสตราจารย์ วินิจ วีรยางกูร | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539 | |
2. รองศาสตราจารย์ อรสา อร่ามรัตน์ | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541 | |
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุณโยภาส | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัมพันธ์ หุ่นพยนต์ | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2553 | |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ | พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556 | |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล มีอำพล | พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2560 |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
การรับรองมาตรฐานแก้ไข
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy; B.Acc.) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาการเงินประยุกต์ (M.A. Applied Finance) ว่ามีความทันสมัยตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ (International Education Standard: IES) จากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้
- สถาบันภายในประเทศ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ บัณฑิตจากหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาสามารถสมัครเป็นสมาชิกสามัญของสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
- สถาบันต่างประเทศ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้รับการรับรอง (accredited) จาก Chartered Institute of Management Accountants (CIMA) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [8] ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกและเป็นสมาคมด้านการบัญชีเพื่อการบริหารระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
ซึ่งการรับรองนี้ส่งผลให้ผู้ที่ศึกษาในชั้นปีสุดท้ายในหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการยกเว้นการสอบ 8 รายวิชา จากทั้งหมด 9 รายวิชา[9] ในการสอบประกาศนียบัตรทางด้านการบัญชีเพื่อการบริหาร (Diploma in Management Accounting) ของ CIMA ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นับเป็นหลักสูตรแรกจากสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองนี้[10]
และหลักสูตรในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการเงินประยุกต์ (Applied Finance) ยังได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากสถาบันวุฒิบัตรนักวิเคราะห์การเงิน (Chartered Financial Analyst Institute) หรือ CFA ว่าเนื้อหาหลักสูตรมีความสอดคล้องกับ CFA Program Candidate Body of Knowledge และได้รับการตอบรับจากสถาบัน CFA ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโปรแกรมพันธมิตรระดับมหาวิทยาลัย หรือ University Affiliation Program (UAP) ด้วย[11]
อันดับและมาตรฐานแก้ไข
สาขาวิชา | อันดับ |
---|---|
QS World University Rankings by Subject | |
ปี 2019 | |
Business & Management Studies |
451-500 |
THE World University Rankings by Subject | |
ปี 2021 | |
Business & Economics | 601+ |
ผลการจัดอันดับตามสาขาจาก QS World University Ranking by Subject[12] โดย QS พบว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในสาขาบริหารธุรกิจและการจัดการ (Business & Management Studies) รายละเอียดดังนี้
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2019
อันดับที่ 451-500 ของโลก
- สาขา Business & Management Studies
(ACADEMIC REPUTATION = 46, CITATIONS PER PAPER = 73, H-INDEX CITATIONS = 57.8, EMPLOYER REPUTATION = 51.9)
นอกจากนี้ผลการจัดอันดับตามสาขาจาก World University Rankings by Subject[13] ซึ่งจัดโดย Times Higher Education (THE) นั้น พบว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในสาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (Business & Economics) รายละเอียดดังนี้
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2021
อันดับที่ 601+ ของโลก
- สาขา Business & Economics
(OVERALL = 8.5-22.4, CITATIONS = 39.4, INDUSTRY INCOME = 49.0, INTERNATIONAL OUTLOOK = 25.1, RESEARCH = 7.1, TEACHING = 7.0)
ศิษย์เก่าดีเด่นแก้ไข
- กฤษณา สีหลักษณ์ (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ระลึก หลีกภัย (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการเขตรักษาการ ผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย
- วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี (ศิษย์เก่า) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- วรวิทย์ จำปีรัตน์ (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง
- ชาลอต โทณวณิก (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) / ผู้ตรวจสอบบัญชีอาวุโส สำนักงานตรวจสอบบัญชี PRICE WATERHOUSE
- องอาจ คล้ามไพบูลย์ (ศิษย์เก่า) รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี / อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ / อดีต ส.ส.กรุงเทพฯหลายสมัย
- เสรีรัตน์ ประสุตานนท์ (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ออมสิน ชีวะพฤกษ์ (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
- ประพันธ์ คูณมี (ศิษย์เก่า) นักการเมือง
- รินลณี ศรีเพ็ญ (ศิษย์เก่า) นักแสดง / นางแบบ / ผู้ดำเนินรายการ
- ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม (ศิษย์เก่า) The Winner AF5 นักร้อง / นักแสดง
- วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร (ศิษย์เก่า) นักแสดงชาวไทย สังกัด ช่อง7
- เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ (ศิษย์เก่า) นักแสดงชาวไทย
- สิริโรจน์ ปริญญานันท์ (นิสิต) นักล่าฝัน AF12 นักร้อง
- ดาวิชญ์ กรีพลฤกษ์ (ศิษย์เก่า) นักแสดงชาวไทย / นักร้องวง SBFIVE
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖, เล่ม ๖๐, ตอน ๗, ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๒๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖, เล่ม ๖๐, ตอน ๔๔, ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๑๒๘๘
- ↑ ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2020-06-06
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๐๙, เล่ม ๘๓, ตอน ๒๒, ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙, หน้า ๒๓๑
- ↑ ที่ระลึกพิธีเปิดอาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2553). ม.ป.ท: .
- ↑ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติความเป็นมา เรียกดูวันที่ 2018-07-28
- ↑ 70 ปี เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). ม.ป.ท: .
- ↑ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พิธีลงนามข้อตกลง (Memorandum of Agreement) เรียกดูวันที่ 2019-06-10
- ↑ CIMA global Exemptions from certain exams in the CIMA Certificate in Business Accounting and CIMA Professional Qualification : Kasetsart University เรียกดูวันที่ 2019-06-10
- ↑ CIMA global Exemptions : Kasetsart University, Thailand : Bachelor of Accountancy June 2015 to 2019 Completion เรียกดูวันที่ 2019-06-10
- ↑ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หลักสูตรปริญญาโทการเงินของคณะบริหารธุรกิจถูกตอบรับให้เป็นหลักสูตรพันธมิตรของสถาบัน CFA. ข่าวสารและกิจกรรม. เรียกดูวันที่ 2020-11-01
- ↑ https://www.topuniversities.com/university-rankings/university-subject-rankings/2019/business-management-studies. "QS World University Rankings by Subject"
- ↑ https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2021/subject-ranking/business-and-economics#!/page/0/length/25/locations/TH/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats "World University Rankings 2021 by subject: business and economics"
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประวัติคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ชุมชนออนไลน์นิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ชุมชนออนไลน์ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นิสิตเก่าดีเด่น EX-MBA
- สมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖
- พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๐๙
- พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักสูตรปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๙
- พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°50′52″N 100°34′15″E / 13.847747°N 100.57084°E