พจน์ บุณยะจินดา
พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ[1]อดีตนายกกรรมการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการคนสุดท้าย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา[2]
พจน์ บุณยะจินดา | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (80 ปี 203 วัน) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิง กอแก้ว บุณยะจินดา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตำรวจเอก |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของพระวรสิทธิวินิจฉัย และนางล้อม วรสิทธิวินิจฉัย เป็นหลานปู่พระยาอาจอำนวยกิจ (รั้งตำแหน่งแทนอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข) และคุณหญิงลำใย อาจอำนวยกิจ สมรสกับคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา (บัวทรัพย์) มีบุตร-ธิดารวม 3 คน คือ
- นางพอฤทัย ณรงค์เดช (บุณยะจินดา)
- นายพันกร บุณยะจินดา (ดัง)
- นางสาวดวงพร สรวยสุวรรณ (บุตรบุญธรรม)
โดย พล.ต.อ.พจน์ ถือเป็นคู่เขยกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากภรรยาของทั้งคู่เป็นพี่น้องกัน
การศึกษา
แก้- จบการศึกษาจากโรงเรียนสารวิทยา
- จบเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 (ม.8) จากโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2499
- สำเร็จปริญญารัฐประศาสนศาตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2503
- สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรการสืบสวนคดีอาญา รุ่นที่ 16 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511
ผลงานการประพันธ์เพลง
แก้- สนิมสังคม
- แรงอธิษฐาน
- คงมีแต่เรา เฝ้าถนน
การรับราชการ
แก้- เมษายน พ.ศ. 2503 ว่าที่ร้อยตำรวจตรี
- พฤษภาคม พ.ศ. 2503 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางกอกน้อย
- 1 มกราคม พ.ศ. 2504 ร้อยตำรวจตรี[3] (รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอกสนอง วัฒนวรางกูร พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ และพลตำรวจเอกจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์)
- พ.ศ. 2505 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
- พ.ศ. 2509 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่
- พ.ศ. 2513 ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- พ.ศ. 2517 สารวัตรแผนก 1 กองกำกับการ 2 กองปราบปราม และทำหน้าที่เป็นหัวหน้า สถานีวิทยุเสียงสามยอด (ส.ส.ส.)
- พ.ศ. 2519 รองผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม
- พ.ศ. 2522 อาจารย์วิชากฎหมาย ภาควิชากฎหมาย กองบังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2523 ผู้กำกับการ 2 สำนักงานเลขานุการ กรมตำรวจ
- พ.ศ. 2524 ผู้แถลงข่าวกรมตำรวจ (สมัยที่ 1) ทำหน้าที่ควบคุม วางแผน และดำเนินการประชาสัมพันธ์ ของกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2525 รองผู้บังคับการกองทะเบียน กรมตำรวจ
- พ.ศ. 2526 รองเลขานุการกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2527 เลขานุการกรมตำรวจ และผู้แถลงข่าวกรมตำรวจ (สมัยที่ 2)
- พ.ศ. 2529 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- พ.ศ. 2531 รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานสารนิเทศ) และผู้แถลงข่าวกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2533 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2534 รองอธิบดีกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2537 อธิบดีกรมตำรวจ
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.ต.อ.พจน์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 สิริรวมอายุได้ 80 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560 ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ตั้งแต่งข้าราชการตำรวจ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมตำรวจ เป็น อธิบดีกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 76)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาฟสสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๓๙, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๑๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- เอกสารทำเนียบอธิบดีกรมตำรวจ เก็บถาวร 2007-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "30 อ.ตร." พ.ศ. 2403-2541 โดย กองวิชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ