ปรีชา เถาทอง

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรม

ศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยการ(จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2552[1]

ปรีชา เถาทอง

เกิด27 เมษายน พ.ศ. 2491 (75 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
อาชีพนักเขียน จิตรกร
สัญชาติไทย ไทย

ประวัติ แก้

ศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2491[2] ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายเจริญ เถาทอง (บิดา) และ นางสิน เถาทอง (มารดา) เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน โดยพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมดได้แก่

การศึกษา แก้

การทำงาน แก้

ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ได้รับรางวัลจำนวนมากและยังดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • ได้รับรางวัลศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาจิตรกรรมจากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ปี 2522
  • รางวัลเหรียญเงินจากศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 22 (จิตรกรรม)
  • รางวัลเหรียญทองจากศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 23
  • รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยมจากศิลปกรรมครบรอบที่ 3 ของหอศิลป พีระศรี
  • รางวัลเหรียญทองศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 24
  • รางวัลเหรียญทองศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 25
  • ได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาจิตรกรรม
  • อาจารย์พิเศษที่โรงเรียนเพาะช่าง
  • อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ได้รับทุนไป ศึกษาที่ L'Accademia di belle Arte ณ กรุงโรมประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ. 2519
  • ศาสตราจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประธานสภาคณบดีศิลปะแห่งประเทศไทย
  • 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 กรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สาขาทัศนศิลป์
  • 8 มกราคม พ.ศ. 2552 ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาสาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรม

ผู้ร่วมรับรางวัลอันทรงเกียรติศิลปินแห่งชาติ แก้

ในปี พ.ศ. 2552 ปีเดียวกัน ยังมีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะ "ศิลปินแห่งชาติ" นั้นมีผู้เข้าร่วมรับรางวัลทั้งหมด 9 ท่าน ดังนี้ ศิลปินที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติใน 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2552

โดยศิลปินแห่งชาติทั้ง 9 ท่านได้ผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติอัน ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้

ซึ่งในปี พุทธศักราช 2552 มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวนมาก และคณะกรรมการได้มีกระบวนการพิจารณาอย่างละเอียดมากที่สุดโดยศิลปินแห่งชาติปี 2552 ได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

รางวัล & เกียรติคุณ แก้

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ ประกอบด้วย[4]

ปี ชื่อรางวัล หน่วยงานที่มอบ หมายเหตุ
2517 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 22
2518 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 23
2520 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 24
2522 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
2522 ได้รับยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม ลำดับที่ 14
2527 รางวัลที่ 1 การประกวดจิตรกรรมฝาผนัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2527 รางวัลที่ 3 การออกแบบอนุสาวรีย์ 700 ปี ลายสือไทย
2535 รางวัลที่ 1 การประกวดจิตรกรรมฝาผนังตึก Escape กรุงเทพฯ รัฐบาลไทย
2537 รางวัลที่ 1 การประกวดจิตรกรรมฝาผนังตึกธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
2538 ออกแบบสร้างสรรค์ภาพประกอบหนังสือพระมหาชนกพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ผลงาน แก้

ผลงานทั้งหมดประกอบด้วย[5]

ปีที่ได้รับ ชื่อผลงาน เทคนิค ขนาด รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่มอบ
2512 " วัดโพธิ์ " หรือ Wat Po 1969. สีน้ำบนกระดาษ 50*70 ซม. -
2515 " แสงและเงา " หรือ Light & Shadow. สีอะคริลิกบนผ้าใบ 114*100 ซม. ศิลปนิพนธ์ศิลปบัณฑิต (ศิลปไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2515
2517 " ภายนอก 1/2517 " หรือ Exterior 1/1974. สีอะคริลิกบนผ้าใบ 137*120 ซม.
2518 " เปลือย " หรือ Nude Light Shadow 1975. สีอะคริลิกบนผ้าใบ 108*123 ซม.
2519 " แสงและเงา 4 " หรือ Light and Shadow 4. สีอะคริลิก 108*123 ซม. เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 23 พ.ศ. 2519
2520 " รูปทรงของแสงบนเนื้อที่ของเงา 1 " หรือ Light Form on the Shade Area 1. สีอะคริลิกบนผ้าใบ 140*170 ซม. เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 25 พ.ศ. 2522
2520 " วัด 2 " หรือ Temple no. 2. สีน้ำมันและสีอะคริลิก 150*180 ซม. เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2520
2522 " แสงภายใน " หรือ Interior with Light. สีอะคริลิก 200*300 ซม. รางวัลยอดเยี่ยมศิลปกรรม การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยประจำปี 2522
2523 " จังหวะของแสง 2523 " หรือ Rythm of Light 1980. สีอะคริลิก สีน้ำมันบนผ้าใบ 110*129 ซม.
2524 " ยมกปาฏิหาริย์ 1981 " หรือ Yamokpha Tihan 1981. ไม่ระบุเทคนิค , ศิลปะจัดวาง.   200*250 ซม.
2525 " มารผจญ 1982 " หรือ Marn Phajorn 1982. ไม่ระบุเทคนิค 100*130 ซม.
2526 " ยมกปาฏิหาริย์ 1983 " หรือ Yamokpha Tihan 1983. ไม่ระบุเทคนิค 200*250 ซม.
2526 " แสงและเงาบนกระดาษ 1/2526 " หรือ Light and Shade on Paper 1/1983. กระดาษ 65*45 ซม.
2531 " ทวารบาล 2531 " หรือ Thawara Barn 1988. สีอะคริลิก สีน้ำมันบนผ้าใบ 170*140 ซม.
2532 " มารผจญ 1989 " หรือ Marn Phajorn 1989. สีอะคริลิกบนผ้าใบ 140*170 ซม.
2535 " แสงและทิศทาง " หรือ Light and direction. สีอะคริลิก ผ้าใบ แสงไฟฟ้า 140*170 ซม.
2536 " 50 ปี ภาพสะท้อน " หรือ 50 Years Reflection. สีอะคริลิก สติ๊กเกอร์ แผ่นกระดาษ 50*50 ซม.
2538 ออกแบบสร้างสรรค์ภาพประกอบ หนังสือพระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  • ภาพประกอบเรื่อง “พระมหาชนก” บทที่ 33. พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ.
  • ภาพประกอบเรื่อง “พระมหาชนก” บทที่ 34. พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ.
  • ภาพประกอบเรื่อง “พระมหาชนก” บทที่ 35. พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ.
  • ภาพประกอบเรื่อง “พระมหาชนก” บทที่ 36. พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ.
  • ภาพประกอบเรื่อง “พระมหาชนก” บทที่ 37. พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ.
2539 " จิต - วัตถุ, ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท " หรือ Subjective, Your Majective. เทคนิคผสม 90*150 ซม.

ปรัชญาและเป้าหมายในการทำงาน แก้

ศาสตราจารย์ ปรีชา มีแนวคิดที่ว่า "มนุษย์ต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งควรนำมาปรับให้เกิดดุลยภาพระหว่างการอนุรักษ์กับการพัฒนา ศิลปะก็เช่นเดียวกันคนไทยสามารถเรียนรู้ทฤษฎีศิลปะแบบตะวันตกแต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องไม่ลืมความเป็นไทยของตนเองแล้วนำข้อดีของทั้งสองสิ่งมาปรับให้เกิดดุลยภาพเป็นแนวทางสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยร่วมสมัยอย่างมีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะเดียวกัน ศิลปินเองก็ต้องพยายามสื่อสารกับผู้ชมด้วย" ปรีชาจึงพยายามทำหน้าที่ลดช่องว่างของความไม่เข้าใจศิลปะของบุคคล โดยนัยหนึ่งทำหน้าที่เป็นครูสอนศิลปะ อีกนัยหนึ่งทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของครูสอนศิลปะผู้ที่ติดตามผลงานศิลปะของปรีชามาตั้งแต่ชุดแรกๆจะพบว่าผลงานที่สร้างสรรค์ได้สอดแทรกสาระเพื่อปูพื้นฐานแก่ผู้ชมเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง "ทั้งนี้ผู้ชมงานควรปรับตัวปรับใจให้เกิดความพร้อมที่จะรับรู้และชื่นชมกับผลงานศิลปะตามไปด้วยเพราะถ้าสังคมมุ่งส่งเสริมให้บุคคลรับรู้แต่ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แต่ขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุนทรียภาพทางความดีความงามซึ่งเป็นเรื่องของจิตนิยม ต่อไปจิตใจของบุคคลเหล่านั้นก็จะขาดความอ่อนหวานนุ่มนวล ไม่มีสุนทรียรสในจิตใจ จนกระทั่งกลายเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจแข็งกระด้างไม่รับรู้คุณค่าของความดีความงามทั้งมวลที่มีอยู่ในโลก"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ฐานข้อมูลประวัติส่วนตัว[ลิงก์เสีย]
  2. เปิดประวัติ ปรีชา เถาทอง
  3. L'Accademia di belle Arte
  4. ฐานข้อมูลรางวัล[ลิงก์เสีย]
  5. ฐานข้อมูลผลงาน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๔๙, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘