มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง เป็นวิทยาเขต ในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในอดีตจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเน้นด้านการเกษตรกรรม และปัจจุบันได้มีการเปิดสอนในสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มขึ้น มีจำนวนนักศึกษากว่า 765 คน[1]
ชื่อย่อ | RMUTL |
---|---|
ประเภท | วิทยาเขต |
สถาปนา | พ.ศ. 2515 |
ที่ตั้ง | 200 หมู่ 11 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง |
เว็บไซต์ | http://www.lpc.rmutl.ac.th |
ประวัติ
แก้วิทยาเขตลำปาง เดิมชื่อ "โรงเรียนเกษตรกรรมลำปาง" ตั้งอยู่เลขที่ 200 หมู่ที่ 11 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง กิโลเมตรที่ 616 ถนนพหลโยธิน ห่างจากตัวจังหวัดลำปางประมาณ 16 กิโลเมตร เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,381 ไร่ ใช้ประโยชน์ร่วมกันกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงย้ายมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยใช้ชื่อว่า วิทยาเขตเกษตรลำปาง[2]
ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการยกฐานะสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง วิทยาเขตลำปาง จึงเป็นวิทยาเขตในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้หน่วยงานสนับสนุน
แก้- กองการศึกษาลำปาง
- กองบริหารทรัพยากรลำปาง
หน่วยงานของนักศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่
- หน่วยดำเนินกิจกรรม
- สโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ มีนายกสโมสรนักศึกษาคณะในเขตพื้นที่ และผู้แทนนักศึกษา เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
- หน่วยตรวจสอบ
- สภานักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นตัวแทนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา ควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษา (สโมสรนักศึกษา และชมรม) เป็นศูนย์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
คณะที่เปิดสอน
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาและจัดตั้งเป็นวิทยาเขต (จำนวน 28 แห่ง)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.