สุรพล เกียรติไชยากร

สุรพล เกียรติไชยากร หรือ เฮียเส่ง[1] ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 เป็นนักการเมืองชาวเชียงใหม่ที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด และเป็นพี่ชายของ ดร.ถาวร เกียรติไชยากร อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่

สุรพล เกียรติไชยากร
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 9
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าตนเอง
นรพล ตันติมนตรี
ถัดไปศรีนวล บุญลือ
เขตเลือกตั้งอำเภอแม่วาง, อำเภอจอมทอง, อำเภอดอยหล่อ, อำเภอกัลยาณิวัฒนา, อำเภอสะเมิง (ยกเว้นตำบลตำบลสะเมิงใต้และตำบลสะเมิงเหนือ) และอำเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตำบลแม่นาจร)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 4
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ นรพล ตันติมนตรี
ก่อนหน้าตนเอง
ผณินทรา ภัคเกษม
ถัดไปตนเอง
ศรีเรศ โกฎคำลือ
เขตเลือกตั้งอำเภอแม่แจ่ม, อำเภอจอมทอง, อำเภอดอยหล่อ, อำเภอฮอด, อำเภอดอยเต่า และอำเภออมก๋อย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 7
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าอำนวย ยศสุข
บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์
ถัดไปตนเอง
นรพล ตันติมนตรี
เขตเลือกตั้งอำเภอจอมทอง, อำเภอแม่วาง, อำเภอสะเมิง (ยกเว้นตำบลสะเมิงใต้และตำบลสะเมิงเหนือ), อำเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแจ่มหลวง ตำบลแม่แดด และตำบลแม่นาจร) และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 2
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อำนวย ยศสุข
และบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ก่อนหน้าบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ส่งสุข ภัคเกษม
ตนเอง
ถัดไปอำนวย ยศสุข
บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์
เขตเลือกตั้งอำเภอสันป่าตอง, อำเภอจอมทอง, อำเภอฮอด, อำเภอแม่แจ่ม, อำเภอสะเมิง, อำเภอหางดง, อำเภออมก๋อย, อำเภอดอยเต่า, กิ่งอำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าอำนวย ยศสุข
ส่งสุข ภัคเกษม
ตนเอง
ถัดไปอำนวย ยศสุข
บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อำนวย ยศสุข
และส่งสุข ภัคเกษม
ก่อนหน้าอำนวย ยศสุข
วารินทร์ ลิ้มศักดากุล
สยม รามสูต
ถัดไปบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ส่งสุข ภัคเกษม
ตนเอง
เขตเลือกตั้งอำเภอสันป่าตอง, อำเภอจอมทอง, อำเภอฮอด, อำเภอแม่แจ่ม, อำเภอสะเมิง, อำเภอหางดง, อำเภออมก๋อย, อำเภอดอยเต่า และกิ่งอำเภอแม่วาง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (85 ปี)
อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2501–2535)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2538 - 2544)
ไทยรักไทย (2544 – 2550)
พลังประชาชน (2550 – 2551)
เพื่อไทย (2551 – ปัจจุบัน)
คู่สมรสเพ็ญพร เกียรติไชยากร

ประวัติ แก้

นายสุรพล เกียรติไชยากร เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยพะเยา) และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการท่องเที่ยว รวมถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สุรพล สมรสกับนางเพ็ญพร เกียรติไชยากร (สกุลเดิม ตันตรานนท์) พี่สาวของนายวัชระ ตันตรานนท์ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา[2]

งานการเมือง แก้

สุรพล เกียรติไชยากร เริ่มต้นงานการเมืองในปี พ.ศ. 2535 โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาหลายสมัย ได้แก่ กันยายน พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554

โดยมีการเลือกตั้งเพียง 3 ครั้ง นายสุรพล เกียรติไชยากร ไม่ได้รับเลือกตั้ง คือ พ.ศ. 2539 ได้รับคะแนน 90,555 เป็นลำดับที่ 5[3] ในการเลือกตั้งแบบเขตเดียว 3 คน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ซึ่งนายสุรพลได้รับคะแนนสูงสุด แต่ กกต. เห็นว่า พฤติการณ์ของนายสุรพล เข้าข่ายผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 73(2) ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิวัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ จึงมีมติสั่งเพิกถอนสิทธิสมัคร นายสุรพล เกียรติไชยากร ว่าที่ส.ส.เขต 8 เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ไว้เป็นการชั่วคราว (1 ปี)[4] อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ศาลสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชดใช้เงินแก่เขาจำนวน 70 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายและเยียวยาฐานทำให้เสียชื่อเสียงจากการถูกแจกใบส้ม ภายหลังศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีบูชาเทียนว่าไม่ใช่การซื้อเสียง[5] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ

นายสุรพลเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ เช่น เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ประชา มาลีนนท์) ในรัฐบาลทักษิณ[6] และล่าสุด ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายสุรพล เกียรติไชยากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 สมัย ได้แก่

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 13 กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย[7]
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน (ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย)
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

งานด้านการศึกษา แก้

นายสุรพล ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. “เฮียเส่ง” สุรพล เกียรติไชยากร ให้พร “ทนายวี” เบอร์ 1 เขต 8 พรรคเสรีรวมไทย “ขอให้ได้เป็น ส.ส.ป้ายแดง” แทนตนที่โดน กกต.ให้ใบส้ม
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายวัชระ ตันตรานนท์[ลิงก์เสีย]
  3. "จากเว็บไซต์รายงานผลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  4. แจกใบส้มเพื่อไทยเชียงใหม่ "สุรพล" เกียรติไชยากร"
  5. "ศาลสั่ง กกต.ชดใช้ "อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พท." รวม 70 ล้าน เหตุแจกใบส้มไม่รอบคอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 20 April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
  6. คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๘๑/๒๕๔๗ เรื่อง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย [นายสุรพล เกียรติไชยากร, นายวิชัย ทิตตภักดี]
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544
  8. การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๗ จากเว็บไซต์ thaiscouts