ศรีนวล บุญลือ (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2506) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคภูมิใจไทย[1]

ศรีนวล บุญลือ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม 2562 – 20 มีนาคม 2566
ก่อนหน้าสุรพล เกียรติไชยากร
ถัดไปนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ
เขตเลือกตั้งอำเภอสันป่าตอง, อำเภอแม่วาง, อำเภอดอยหล่อ และอำเภอจอมทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มิถุนายน พ.ศ. 2506 (60 ปี)
อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2562–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อนาคตใหม่ (2561–2562)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ประวัติ แก้

ศรีนวลเกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่[2] เป็นบุตรของนายศรีมอยและนางเขียว บุญลือ[3] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่[2]

งานการเมือง แก้

ศรีนวลเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองโดยเริ่มจากการเมืองท้องถิ่นด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน ระหว่าง พ.ศ. 2542–2544 เป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เขตอำเภอแม่วาง[2] เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตั้งแต่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย [4]

ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคอนาคตใหม่มีมติเสียงข้างมาก 250 ต่อ 5 ให้ขับศรีนวลพร้อมทั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนาคตใหม่อีก 3 คน ออกจากสมาชิกภาพพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากได้เคยลงคะแนนสวนทางกับมติของพรรค ต่อมาได้ย้ายไป พรรคภูมิใจไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้ลงรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 9 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่เขาไม่ได้รับการเลือกตั้ง เขาได้รับคะแนนอยู่ลำดับที่ 4 พ่ายแพ้ให้กับ นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ พรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 1


บทบาทในสภาผู้แทนราษฎร แก้

ต่อมาศรีนวล บุญลือ ได้เข้าสู่การเมืองระดับชาติ โดยได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 ในนามพรรคอนาคตใหม่ โดยได้คะแนนไปเพียง 29,556 คะแนน แพ้สุรพล เกียรติไชยากร จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนน 52,165 คะแนน

ต่อมาสุรพลถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกถอนสิทธิสมัครไว้เป็นการชั่วคราว 1 ปี ศรีนวลเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง และ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจได้ลงพื้นที่ช่วยหาเสียงด้วยตนเอง[5] โดยได้คะแนน 75,891 คะแนน ชนะนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนนไปเพียง 27,861 คะแนน โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงที่สุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[6][4]

นางสาวศรีนวล ถูกกล่าวถึงทางสื่อมวลชนจากการเป็นผู้เสนอชื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี[7] และการมักอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรด้วยภาษาพื้นถิ่น (ภาษาคำเมือง)[8]

การลงคะแนนสวนทางกับมติของพรรค แก้

ศรีนวล บุญลือ ในฐานะสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ได้แสดงบทบาททางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับมติพรรคอนาคตใหม่หลายครั้ง อาทิ

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การพิจารณาร่างพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 ศรีนวลลงคะแนนงดออกเสียง สวนทางกับมติพรรคที่ให้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย โดยศรีนวลให้เหตุผลว่า การงดออกเสียงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด[9][10]

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การพิจารณาพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าพบชื่อของศรีนวลเป็นผู้คะแนนเห็นด้วย[11] สวนทางกับมติพรรคที่ให้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย

ต่อมาในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคอนาคตใหม่มีมติเสียงข้างมาก 250 ต่อ 5 ให้ขับศรีนวลพร้อมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนาคตใหม่อีก 3 คน ออกจากสมาชิกภาพพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากได้เคยลงคะแนนสวนทางกับมติของพรรค[12] ต่อมาได้ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย

ศรีนวล ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคภูมิใจไทย ในจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 9 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นางสาวศรีนวล บุญลือ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่ ๒) [จังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ ๘ นางสาวศรีนวล บุญลือ พรรคอนาคตใหม่]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 ประวัตินางสาวศรีนวล บุญลือ, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
  3. "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวศรีนวล บุญลือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22.
  4. 4.0 4.1 “ศรีนวล บุญลือ” น้องใหม่ ร้ายบริสุทธิ์
  5. หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ช่วยลูกพรรคหาเสียงเลือกตั้งซ่อมเขต 8
  6. ศรีนวล บุญลือ ส.ส.7.5หมื่นคะแนน : ข่าวทะลุคน
  7. คนเมืองปลื้ม ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ อู้คำเมือง เสนอ ธนาธร เป็นนายกฯ
  8. อนค.เชื่อใจ “ศรีนวล” เข้าพบ “อนุทิน” ไม่เป็นงูเห่า “ดร.ปิยบุตร” โทษรัฐธรรมนูญ
  9. พระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๒ (ผลการลงมติ)
  10. รู้จัก ‘ศรีนวล บุญลือ’ จากนักการเมืองท้องถิ่น สู่ ส.ส.เชียงใหม่
  11. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒ (ผลการลงมติ)
  12. ด่วน! อนาคตใหม่ ไม่เก็บไว้ ขับ 4 ส.ส.งูเห่าพ้นพรรค หลังโหวตสวนซ้ำซาก
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔