ส่งสุข ภัคเกษม

ส่งสุข ภัคเกษม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นสามีของนางผณินทรา ภัคเกษม[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดียวกัน เป็นอดีตประธานกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11[2]

ส่งสุข ภัคเกษม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2476
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต 22 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (65 ปี)
คู่สมรส ผณินทรา ภัคเกษม
ศาสนา พุทธ

ประวัติแก้ไข

ส่งสุข เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2476 ที่ย่านถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายจันทร์ กับนางเลียบ ภัคเกษม บิดามีอาชีพค้าไม้ มีพี่น้อง 3 คน แต่บิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่ส่งสุขยังเด็ก จึงอยู่ในความดูแลของป้า และอาศัยอยู่ที่อำเภอจอมทอง[3] นายส่งสุข สมรสกับนางผณินทรา ภัคเกษม มีบุตรสาว 1 คน

ส่งสุข เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จากนั้นได้ย้ายเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร ที่วิทยาลัยพระนคร[4]

เขามีส่วนในการทำลายขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา โดยโจมตีนักศึกษาผ่านสถานีวิทยุยานเกราะ

การทำงานแก้ไข

ส่งสุข ภัคเกษม ประกอบอาชีพนักหนังสือพิมพ์หลังจากที่จบการศึกษา เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสยาม ต่อมาได้หันมาทำงานด้านสื่อสารมวลชน ทำรายการโทรทัศน์ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ลำปาง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์[5] โดยการชักชวนของนายไกรสร ตันติพงศ์[4] เพื่อนสนิทเมื่อครั้งทำงานหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทย และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกในปี พ.ศ. 2519 สมัยที่ 3 พ.ศ. 2529[6] และสมัยที่ 4-5 ในปี พ.ศ. 2535

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย มีบทบาทสำคัญในพรรคดังกล่าว[7] จนกระทั่งได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคในปีถัดมา[8]

นอกจากงานการเมือง งานสื่อมวลชนแล้ว นายส่งสุข ภัคเกษม ยังมีผลงานในการแต่งเพลง อาทิ เพลงต๋าเหินลา[9] ซึ่งขับร้องโดย อบเชย เวียงพิงค์

ถึงแก่กรรมแก้ไข

ส่งสุข เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ขณะมีอายุ 65 ปี[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ดราม่าแม่เกิบ'ศรีเรศ' ส.ส.อมก๋อย
  2. http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_73303.pdf[ลิงก์เสีย]
  3. ย่ายเจริญประเทศ(14)[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
  5. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  6. รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
  7. เปิดแฟ้มย้อนรอย : เส้นทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร (3)
  8. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค (นายพินิจ จันทรสุรินทร์ และนายส่งสุข ภัคเกษม พ้นจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย)
  9. เพลงต๋าเหินลาจากเว็บไซต์ ยูทูป
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖