ไกรสร ตันติพงศ์

ไกรสร ตันติพงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ คือ 7 สมัย[1] และเป็นอดีตสมาชิกของกลุ่ม 10 มกรา[2]

ไกรสร ตันติพงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มีนาคม พ.ศ. 2473
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต6 มกราคม พ.ศ. 2561 (87 ปี)
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2500—2531)
ประชาชน (2531—2532)
คู่สมรสทองอินทร์ ตันติพงศ์
เครือวัลย์ ตันติพงศ์
อรษา ตันติพงศ์

ประวัติ

แก้

ไกรสร ตันติพงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 4 ในบรรดาบุตรทั้ง 6 คนของนายหิรัญ และนางทองสุก ตันติพงศ์ (สกุลเดิม ชุติมา) มีพี่น้องตามลำดับดังนี้ นายประภาส นางสาวสุชาดา นายถนอม นายไกรสร นายกมล และนายปรีดี เขาเริ่มการศึกษาระดับอนุบาล ที่โรงเรียนวัดเกตการาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-4 ที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย และศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายเลขประจำตัว 2745 ต่อมาย้ายกลับมาเรียนต่อที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โดยเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หมายเลขประจำตัว 2584[3]

นายไกรสร ถึงแม้จะมีศักดิ์เป็นหลานน้าของนายสุวิชช พันธเศรษฐ ส.ส. 3 สมัย และนายทองดี อิสราชีวิน ส.ส.4 สมัย แต่ก็ไม่เคยไปอยู่บ้านของท่านทั้งสองเลย แต่ทั้งสอง ส.ส. เป็นน้องคุณแม่ทองสุก ท่านมาพักนอนที่บ้านต้นตระกูลของคุณแม่ทองสุก

นายไกรสร เคยมีภรรยา 3 คนคือ 1. นางทองอินทร์ ตันติพงศ์ 2. นางเครือวัลย์ ตันติพงศ์ 3. นางอรษา ตันติพงศ์ โดยมีบุตรกับนางทองอินทร์ เท่านั้น คือ นางกนิษฐา จันทรศัพท์, พลอากาศตรี ศุภมิตร ตันติพงศ์

งานการเมือง

แก้

ได้รับเลือกเป็น ส.ส.เชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2531 รวมถึง 7 สมัย[4] เมื่อได้เป็น ส.ส. ในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้เลิกกิจการหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทย โดยยกกิจการโรงพิมพ์ไกรนิมิตรการพิมพ์ และหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทยให้นายนิมิตร มาลีกุล ดำเนินการร่วมกับนายประเวศน์ เชมนะศิริ นั่นคือ เมื่อเป็นนักการเมือง ก็ทำหน้าที่เป็นนักการเมืองอย่างแท้จริงเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.35)[5] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[6] ได้รับแต่งตั้งอีกครั้ง (ครม.37)[7] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[8] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ และในปี พ.ศ. 2523 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[9]

ในปี พ.ศ. 2528 ไกรสร ได้เสนอร่างกฎหมายพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อยกฐานะจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นมหานคร[10] มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวเชียงใหม่เลือกผู้บริหารของตัวเอง คือผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร แต่ร่างพระราชบัญญัติไปค้างอยู่ในสภา ฯ เท่านั้น รอการบรรจุเป็นวาระเพื่อพิจารณา แต่มีการยุบสภาเสียก่อน เรื่องนี้จึงยุติแต่เพียงเท่านี้

นายไกรสร เคยได้รับการเสนอชื่อเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี พ.ศ. 2526[11] แต่แพ้การลงมติให้กับนายสมรรค ศิริจันทร์

นายไกรสร เป็นสมาชิกในกลุ่ม 10 มกรา ซึ่งนำโดย เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ทั้งนี้ กลุ่ม 10 มกรานี้มีความไม่พอใจในการบริหารงานของนายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงลาออกมาตั้งพรรคประชาชน แต่นายไกรสร ตันติพงศ์ ได้รับปากคุณแม่ทองสุก ตันติพงศ์ มารดาที่กำลังป่วย โดยไม่ลงเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2531 เป็นต้นมา จึงเป็น ส.ส. ที่ไม่เคยสอบตก

ต่อมานายไกรสร ได้วางมือทางการเมือง และอาศัยอยู่ทีบ้าน "ไทยร่มเย็น" จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดร้านขนมจีนเฝ้าติดตามการเมืองอย่างเป็นระยะ และศึกษาสนใจในโหราศาสตร์ มักออกมาทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองเสมอ ๆ ตามหลักโหราศาสตร์ จนได้ชื่อว่าเป็น "หมอดูการเมือง" อีกคนหนึ่ง

งานเขียน

แก้

ไกรสร ตันติพงศ์ มีงานเขียนหนังสืออาทิ อำนาจที่ยิ่งใหญ่ คืออำนาจปกครองประเทศ (2553)

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

นายไกรสร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561 สิริอายุรวม 87 ปี[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
  2. บทเรียนสอนไม่จำ 32ปี กลุ่ม "10 มกรา" คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง
  3. "เชียงใหม่ พ.ศ. 2512 (1)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  6. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-05-14.
  10. "การกระจายอำนาจคืออนาคตของประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2019-04-21.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2019-04-21.
  12. ปฏิทินข่าวรอบล้านนา โดย สิงหรา
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529