โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (อักษรย่อ: ย.ว.;อังกฤษ: Yupparaj Wittayalai School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของภาคเหนือ และโรงเรียนสหศึกษาของรัฐบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 โดยมีชื่อแรกตั้งว่า "โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่" และเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยศยศเป็น สมเด็จพระยุพราชในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย" ซึ่งมีความหมายว่า "โรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร)"

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ละติน: Yupparaj Wittayalai School (ปัจจุบัน)
Yuparaj Royal’s College (เดิม)
ตราสัญลักษณ์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ที่ตั้ง
แผนที่

เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ 50200 ไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นย.ว. / YRC
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญเรียนให้เด่น เล่นให้ดี มีศีลธรรม
สจฺจ วาจา คตา สจฺจ สามคฺคี พลวา พล
(วาจาสัตย์นำไปสู่ความจริง สามัคคีคือพลังอันยิ่งใหญ่)
สถาปนา• พ.ศ. 2448 (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย)
• พ.ศ. 2432 (โรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชทานนามโรงเรียน พ.ศ. 2448)
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายสำเร็จ ไกรพันธ์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
เพศสหศึกษา
จำนวนนักเรียน3,679 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)
สี███ บานเย็น
สังกัดสพฐ.
เว็บไซต์www.yupparaj.ac.th
ยุพราชวิทยาลัยตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
ยุพราชวิทยาลัย
ยุพราชวิทยาลัย
ยุพราชวิทยาลัย (จังหวัดเชียงใหม่)

ประวัติโรงเรียน แก้

 
ภาพถ่ายอาคารเรือนเพชร ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อถอนไปเพื่อนำไม้ไปสร้างอาคารเรือนแก้ว ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2496
 
ตึกยุพราชอาคารหลังแรกของโรงเรียน ปัจจุบันมีอายุครบ 114 ปี
 
โรงช้างต้น หรือ เรือนช้างต้น หนึ่งในอาคารเก่าแก่ที่ปัจจุบันใช้เป็นห้องวงโยธวาทิต
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ หรือโรงเรียนตัวอย่างประจำ ภาคเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตามพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการ ศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก"ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ความว่า

…ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดแต่ความประพฤติชอบ และการเลี้ยงชีวิตโดยชอบเป็นที่ตั้ง ครั้นทั้งหลายจะประพฤติชอบ แลจะหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบนั้นเล่า ก็ย่อมอาศัยการได้ศึกษาวิชา ความรู้ ในทางที่จะให้บังเกิดประโยชน์ มาแต่ย่อมเยาว์ และฝึกซ้อมสันดานให้น้อยในทางสัมมาปฏิบัติและเจริญปัญญา สามารถในกิจการต่างๆ อันเป็นเครื่องประกอบการหาเลี้ยงชีพเมื่อเติบใหญ่ จึงเชื่อว่าได้เข้าสู่ทางความเจริญ… บัดนี้การฝึกสอนในกรุงเทพฯเจริญแพร่หลายมากขึ้นแล้ว สมควรจะจัดการฝึกสอนให้หัวเมืองได้เจริญขึ้นตามกัน…

สำหรับเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ของมณฑลพายัพนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชประสงค์ จะให้จัดเป็นโรงเรียนตัวอย่างและฝึกอบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้รู้ธรรมเนียมการหนังสือ และฝึกหัดลายมือ ให้ใช้เป็นเสมียนได้ วิชาคิดเลขและวิชาช่างที่เป็นประโยชน์ และธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เป็นคุณแก่แผ่นดิน ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ก็ยังมีพระราชประสงค์จะปลูกฝังคุณสมบัติ ให้นักเรียนเป็นคนขยันขันแข็ง สะอาดทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ซื่อสัตย์สุจริตมีอุปนิสัยใจคอดี และเป็นพลเมืองดีในที่สุด

เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งนั้น โรงเรียนมีที่ตั้งอยู่ที่ศาลากลางสวน ในจวนของพระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพในขณะนั้น ลักษณะการก่อตั้งโรงเรียนเป็นไปตามแนวพระดำริ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ต้องการให้โรงเรียนหลวงตั้งอยู่ริมจวนข้าหลวง หรือในวัด ที่อยู่ไกล้จวนข้าหลวง เพื่อจะได้ช่วย เป็นธุระดูแลและให้ครูได้ตั้งใจสั่งสอนนักเรียน โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมีจุดประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง แก่โรงเรียนอื่น ๆ ในเมืองเชียงใหม่ จึงมีชื่อเป็นที่รู้จักของคนสมัยนั้นว่า โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ หรือโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ เริ่มต้นจากการสอนภาษาพื้นเมือง ภาษาไทย และวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งการอบรมความประพฤติ ให้รู้จักรับผิดชอบ ในระยะแรกเริ่มนั้นจัดการศึกษาเป็นแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย หญิง พระภิกษุ สามเณร เรียนรวมกัน มีขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑล เป็นครูใหญ่คนแรก

โรงเรียนหลวงประจำมณฑลพายัพ ซึ่งระยะแรกตั้งอยู่ที่ศาลากลางสวน ในจวนของข้าหลวงใหญ่ เริ่มมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายที่เรียนมาอยู่ที่โรงละคร ของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2444 แต่ภายหลังการศึกษาเพื่อให้เกิดความผสมผสานกลมกลืนกันในชาติ โดยใช้วิธีสอนหนังสือไทยกลางให้เหมือนกันทั่วประเทศ และเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ในมณฑลพายัพต่างสนับสนุนการจัดการศึกษาของรัฐบาลอย่างดี สำหรับเมืองเชียงใหม่นั้น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้สนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อสอนภาษาไทยชั้นสูง โดยได้บริจาคที่ดิน คือที่ดินตำบลสี่แยกถนนวโรรส ในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ความยาว 37 วา 2 ศอก ความกว้าง 19 วา 2 ศอก และยกโรงเรือนซึ่งเป็นโรงละครเดิมจำนวน 1 หลัง ประกอบด้วยเสาไม้แก่นมีเครื่องบน และพื้นไม้จริงเพื่อให้สร้างโรงเรียนต่อไป สำหรับตัวอาคารของโรงเรียนหลังแรกนี้ ได้วางรูปแบบเป็นรูปทรงปั้นหยา มี 9 ห้อง มีขนาดความยาว 17 วา 2 ศอก ความกว้าง 6 วา มีเรือนโถงต่อจากเรือนเดิม เพื่อใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่น ๆ รวม 4 ด้าน การก่อสร้างทำได้ถึงขั้นสร้างโครง และติดเครื่องบนแต่เนื่องจากขาดทุนทรัพย์การก่อสร้างโรงเรียน จึงหยุดชะงักไปชั่วคราว

ปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสุรสีห์ วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ขึ้นมารับราชการตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษานั้น พระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์พยายามดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่จะใช้ "การศึกษาแผนใหม่" เป็นเครื่องช่วยในการปฏิรูป มณฑลพายัพ โดยเริ่มจากการสร้างโรงเรียน ท่านได้มอบหมายให้ขุนอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ ข้าหลวงธรรมการมณฑลพายัพ เป็นหัวหน้าบอกบุญเรี่ยรายเงิน จากเจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการมณฑล ได้เงินจำนวนมาก การก่อสร้างโรงเรียนที่ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงค์ได้ก่อสร้างค้างไว ้จึงได้เริ่มดำเนินการต่อ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2448 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ครั้งยังดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ดังความปรากฏในลิลิตพายัพ ความว่า "…ครั้นรุ่งขึ้นพระองค์ทรงรัถยานขับรี่ สู่ที่ตั้งโรงเรียน อ่านเขียนหนังสือสยาม เล่าบ่นตามกำหนด หมดทั้งเลขวิทยา ราชาทอดพระเนตรเสร็จ ผันพักตร์เสด็จโดยบาท สู่อาวาสเจดีย์หลวง…" ในการเสด็จประพาสมณฑลพายัพครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรด พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 500 บาท สมทบการสร้างโรงเรียน และได้พระราชทานนามโรงเรียน ที่ก่อสร้างใหม่ว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งมีความหมายว่าเป็นโรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช นั่นเอง[1][2]

ข้อมูลปัจจุบัน แก้

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่และอยู่บนเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน เปิดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 แบบสหศึกษา ปัจจุบันเป็นศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) ประจำภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

รายนามผู้บริหารโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย แก้

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
     1.    หม่อมราชวงศ์จันทร์ มหากุล พ.ศ. 2432 พ.ศ. 2442
     2.    พระยาอุปกรณ์ศิลปศาสตร์ (เจริญ อากาสวรรธนะ) พ.ศ. 2442 พ.ศ. 2446
     3.    นายเงิน ตุลยสัชฎ์ พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2448
     4.    นายอิน นุพงศ์ไทย พ.ศ. 2449 พ.ศ. 2449
     5.    ขุนประยุทธนิติสาร พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2453
     6.    นายโชติ ไชยภัฏ พ.ศ. 2453 พ.ศ. 2453
     7.    รองอำมาตย์เอกหลวงสุนทรเสข พ.ศ. 2454 พ.ศ. 2456
     8.    รองอำมาตย์เอกหลวงสุทธิชัยนฤเวทย์ พ.ศ. 2457 พ.ศ. 2458
     9.    รองอำมาตย์ตรีหลวงวุฒิศรเนติสาร พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2461
   10.    รองอำมาตย์เอกหลวงอาจวิชชาสรร (ทอง ชัยปาณี) พ.ศ. 2462
พ.ศ. 2469
พ.ศ. 2467
พ.ศ. 2474
   11.    รองอำมาตย์โทขุนชำนิอนุสาสน์ พ.ศ. 2467 พ.ศ. 2468
   12.    นายถวิล ดารากร ณ อยุธยา พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2475
   13.    หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาช พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2478
   14.    นายเกยูร ผลาชีวะ พ.ศ. 2479 พ.ศ. 2487
   15.    นายชื่น จรินโท พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2490
   16.    นายโปร่ง ส่งแสงเติม พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2495
   17.    นายโสภิต ศุขเกษม พ.ศ. 2496
พ.ศ. 2512
พ.ศ. 2510
พ.ศ. 2515
   18.    นายสนอง มณีภาค พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2512
   19.    นายสุเชฎฐ วิชชวุต พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2520
   20.    นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2525
   21.    นายสมชาย นพเจริญกุล พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2535
   22.    นายประสิทธิ์ แสนไชย พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2537
   23.    นายสุรชาติ ช่วงฉ่ำ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2540
   24.    นายสาหร่าย แสงทอง พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544
   25.    นายวีรยุทธ จงสถาพรพงศ์ พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2547
   26.    นายประดิษฐ์ จันทร์แสนตอ พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2549
   27.    นายบรรจง พลฤทธิ์ พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2552
   28.    นายวิษณุ ไชยแก้วเมร์ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557
   29.    นายบุญเสริญ สุริยา พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2562
   30.    นายฐิตติณัฐ ศักดิ์ธนานนท์ พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563
   31.    นายทีปชัย วงษ์วรศรีโรจน์ พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564
   32.    นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2566

อาคารเรียน แก้

หมายเลขอาคาร แก้
ชื่ออาคาร แก้
ห้องเรียน แก้
1 ตึกยุพราช
  • หอเกียรติประวัติและจัดแสดงผลงานของโรงเรียน
  • หอวชิราวุธานุสรณ์ ประจำจังหวัดเชียงใหม่
2 เรือนวิเชียร
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • ห้องเรียนโครงการ English Program
  • ศูนย์บริการการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
3 เรือนรัตน์
  • ศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
  • ศูนย์สเต็มศึกษา ภาคเหนือ
  • งานธนาคารโรงเรียน
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.3
4 เรือนเพชร
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ห้องเรียนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
  • ห้องโสตทัศนูปกรณ์
  • ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พสวท.) ภาคเหนือ
5 เรือนวชิระ
  • สำนักงานผู้อำนวยการ
  • สำนักงานฝ่ายอำนวยการ
  • สำนักงานฝ่ายจัดการศึกษา
  • สำนักงานฝ่ายนโยบายและแผน
  • ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.1
6 เรือนพัชระ
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • ห้องปฏิบัติการงานคหกรรม
7 อาคารรัตนมณี
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.5
  • ห้องแนะแนว
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์)
8 อาคารศรีมรกต
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.2
9 อาคารนวรัตน์
  • โรงอาหาร 2
  • ห้องสมุดกลาง เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
  • ห้องประชุมวิภาตะวณิช
  • หอประชุมใหญ่
10 อาคารเพชรรัตนราชสุดา
  • ห้องจัดแสดงผลงานของโรงเรียน
  • ห้องชมรมและกลุ่มกิจกรรม (งานนักศึกษาวิชาทหาร, งานลูกเสือ, สำนักงานสภานักเรียน และคณะสี)
  • ห้องเรียนปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
  • ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.4
11 อาคารยุพราชรังสรรค์
  • โรงอาหาร 1
  • อาคารเอนกประสงค์
12 อาคารวชิรดารา
  • ห้องเรียนประจำระดับชั้น ม.5-6
อาคารยุพราช 100 ปี
  • ห้องเรียนปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และพิมพ์ดีด
  • ห้องเรียนปฏิบัติการทางหุ่นยนต์
  • ห้องเรียนปฏิบัติการทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
อาคารพยาบาล 100 ปี
  • ห้องปฏิบัติการพยาบาล
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
อาคารประชาสัมพันธ์ 100 ปี
  • สำนักงานฝ่ายบริหารงานทั่วไป
ธรรมสถาน
  • พระวิหารวัดนางเหลียว ภายในประดิษฐานพระทศพลญาณมหามุนี และพระสมเด็จพระยุพราช
  • ห้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
อาคารพลศึกษา
  • โรงยิมพลศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)
อาคารดนตรีไทย
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีไทย)
โรงช้างต้น
  • ห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (วงโยธวาทิต)
เรือนแก้ว
  • พิพิธภัณฑ์ และศูนย์จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาและโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบภายในโรงเรียน
  • ศูนย์การเรียนรู้อาเซียนศึกษา
อาคารสมาคมผู้ปกครองและครูยุพราชวิทยาลัย (สปย.)
  • สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน
 - งานระเบียบวินัย
 - งานคุณธรรมจริยธรรม
 - งานสารวัตรนักเรียน
 - งานจราจร และรักษาความปลอดภัย
  • ห้องประชุมสมาคมผู้ปกครองและครูยุพราชวิทยาลัย (สปย.)
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
  • ห้องครูเวรประจำวัน
  • ห้องพักครูเวรสตรี วันหยุดราชการ
แหล่งการเรียนรู้รังผึ้งสุขสันต์
  • อาคารห้องน้ำ
สวนบ้านบานเย็น

เพลงประจำโรงเรียน แก้

  • เพลง ยุพราช-บานเย็น (เพลงประจำสถาบัน)
  • เพลง ชาวบานเย็น
  • เพลง ใต้ร่มธงบานเย็น
  • เพลง ยุพราชอนุสรณ์
  • เพลง อย่าลืมบานเย็น
  • เพลง ยุพราชฯองอาจบานเย็น (เพลงพิเศษเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การพระราชทานนาม "ยุพราชวิทยาลัย")
  • เพลง ยุพราชร้อยปี (เพลงพิเศษเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การพระราชทานนาม "ยุพราชวิทยาลัย")

แผนการเรียน แก้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แก้

  • ห้องเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
  • ห้องเรียน Smart YRC
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
  • ห้องเรียนสำหรับนักเรียนหลักสูตรปกติ
  • ห้องเรียน international program
  • ห้องเรียนหลักสูตรวิทย์พลังสิบ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

  • ห้องเรียนสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
  • ห้องเรียนสำหรับนักเรียนทุนโครงการ พสวท. (ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ (Gifted Math)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Gifted Eng)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย (Gifted Thai)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และ นักเรียนความสามารถพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ (Gifted Computer)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์พิเศษ (SMART YRC)
  • ห้องเรียนสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคสมทบ (โครงการ พสวท. สมทบ)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ทัศนศิลป์
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ดนตรี
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-สังคมศึกษา
  • ห้องเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)

แผนการเรียนพิเศษ แก้

  • โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
  • โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
  • โครงการหลักสูตรนานาชาติ (International Program)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
  • โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) ประจำภาคเหนือ
  • โครงการห้องเรียนส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ความเป็นเลิศ (พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)) ประจำภาคเหนือ
  • โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคสมทบ (โครงการ พสวท.สมทบ)
  • โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคอมพิวเตอร์
  • โครงการSmart YRC. ส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สำเร็จการศึกษา แก้

อ้างอิง แก้

  1. จดหมายเหตุ ร.ศ.125 เรื่อง การสร้างโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. (เอกสารชั้นต้น)
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-28. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1704.15พิกัดภูมิศาสตร์: 18°47′30″N 98°59′19″E / 18.79167°N 98.98861°E / 18.79167; 98.98861