อำนวย ยศสุข
อำนวย ยศสุข เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 7 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน
อำนวย ยศสุข | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี |
ถัดไป | เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย สมพร อัศวเหม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2480 อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | มัชฌิมาธิปไตย |
คู่สมรส | สุมล ยศสุข (เสียชีวิต) |
ประวัติ
แก้อำนวย ยศสุข เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายทองดี และนางเรือน ยศสุข [2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2504 ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยอริโซนา สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511 และระดับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2526[3]
การทำงาน
แก้อำนวย ยศสุข เริ่มรับราชการในตำแหน่งเศรษฐกรตรี กองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2505 จนถึงปี พ.ศ. 2518
อำนวย ยศสุข เริ่มเข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้าร่วมกับพรรคนำไทย[4] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่[5] จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 7 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง[6] และกระทรวงสาธารณสุข[7] และตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคความหวังใหม่ แต่ได้คะแนนเพียงอันดับที่ 3 รองจากนางผณินทรา ภัคเกษม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ภรรยานายส่งสุข ภัคเกษม) จากพรรคไทยรักไทย และนายขุนทอง อินทร์ไทย จากพรรคประชาธิปัตย์[8][9]
ในปี พ.ศ. 2549 อำนวย ยศสุข ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ ได้คะแนน 50,313 คะแนน เป็นลำดับที่ 5[10] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้เข้าร่วมงานทางการเมืองกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย[11] และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
อำนวย ยศสุข ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน[13][14][15][16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายบดี จุณณานนท์ นายเสริมศักดิ์ การุญ นายอำนวย วีรวรรณ นายจรัส พั้วช่วย นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ นายอำนวย ยศสุข นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายบุญช
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2010-05-01.
- ↑ "วุฒิฯ"เลือกอำนวย ยศสุข-ไพรัช วรปาณิเป็น กก.อสส.แล้ว
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน 56ง 13 กรกฎาคม 2538
- ↑ "จากเว็บไซต์รายงานผลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ "ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมือง จากเว็บไซต์ กกต.
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ดร.อำนวย ยศสุข” นายกสภา ม.แม่โจ้ เปิดใจอยู่กับ ม.แม่โจ้ มากว่า 60 ปี เพิ่งมาเจอเหตุการณ์แปลกๆในปีนี้
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จำนวน ๑๐ ราย ๑. นายอำนวย ยศสุขฯ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [จำนวน ๑๐ ราย ๑. นายอำนวย ยศสุขฯ]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จำนวน ๑๐ ราย ๑. นายอำนวย ยศสุข ฯ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กรรมการสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เก็บถาวร 2010-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน