เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย
เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย (21 มกราคม พ.ศ. 2481 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 7 สมัย
เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มกราคม พ.ศ. 2481 อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (73 ปี) |
คู่สมรส | บังอร สนิทวงศ์ชัย |
ประวัติ
แก้เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2481 เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ กับนางคำดี สนิทวงศ์ชัย [1] จบการศึกษาระดับ ปกศ.สูง จาก วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สมรสกับนางบังอร สนิทวงศ์ชัย นายเฉลิมพล มีบุตร-ธิดา ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี คือ นางสาวธิรดา สนิทวงศ์ชัย และ นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นข้าราชการครู และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหกรณ์ครูอุดรธานี ก่อนจะลงสนามการเมืองระดับชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2539 และเข้าได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[2] และในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3]
ต่อมาได้ลงสมัครเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับนายศราวุธ เพชรพนมพร จนวางในการเมืองระดับชาติ จึงมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547[4] เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีในสมัยแรก แต่ต่อมาพ่ายแพ้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี สมัยที่สอง จึงทำให้ยุติบทบาททางการเมืองไป
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาราษฎร์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรครวมไทย (พ.ศ. 2529)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เฉลิมพล เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจหยุดเต้นโดยเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สิริอายุรวม 73 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ พระปกเกล้า,สถาบัน. ฐานข้อมูลการเลือกตั้งนายก อบจ. สถาบันพระปกเกล้า : กรุงเทพ. 2547
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒