สยม รามสูต
สยม รามสูต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ โดยลงสมัครคู่กับนายอำนวย ยศสุข[1]
สยม รามสูต | |
---|---|
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ทองมาก ระวิวรรณ |
บุตร | ทรงยศ รามสูต |
ต่อมาได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมไทย พร้อมกับเจริญ เชาว์ประยูร สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และมานะ แพรสกุล และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531[2] ในปี พ.ศ. 2535 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งนำโดย ณรงค์ วงศ์วรรณ และต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเทิดไท ในปีเดียวกันซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคสามัคคีธรรม[3]
สยม รามสูต ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 [4]
สยม รามสูต สมรสกับนางทองมาก ระวิวรรณ อดีต ส.ส.หนองคาย (บุตรสาวนายชื่น ระวิวรรณ อดีต ส.ส.หนองคาย 6 สมัย) มีบุตรคนหนึ่งคือ ทรงยศ รามสูต อดีต ส.ส.หนองคาย (สมรสกับนางสิรินทร รามสูต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย)[5]
รามสูต เป็นสกุลพระราชทาน รัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 0693 พระราชทานให้แก่ขุนวรพัศดุ์บรรหาร (เลี่ยน) กรมศุลการกร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดา ปู่และทวด เป็นพระยารามรณรงค์สงครามฯ บิดาคือพระยารามฯ (อ้น) ปู่คือพระยารามฯ (เกิด) ทวดคือพระยารามฯ (นาค) เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Ra^masuta"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคสามัคคีธรรมเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-18.
- ↑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๑๗๘/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (๑ นายสนธยา คุณปลื้ม ๒ นายสยม รามสูต ๓ นายวิเศษ ใจใหญ่)
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสิรินทร รามสูต[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ศรีรัตน์ นุชนิยม. พระแสงราชศัตราทองคำ-หนึ่งในสยาม. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์. 2551. ISBN 978-974-05-7145-2
- นามสกุลพระราชทาน จากเว็บไซต์ พระราชวังพญาไท
- ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เว็บไซต์ จังหวัดกำแพงเพชร