ทรงยศ รามสูต (เกิด 20 ธันวาคม พ.ศ. 2503) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย

ทรงยศ รามสูต
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 206 วัน)
ก่อนหน้าสิรินทร รามสูต
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 13 กันยายน พ.ศ. 2535
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ธันวาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสสิรินทร รามสูต

ประวัติ

แก้

ทรงยศ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายสยม รามสูต อดีต สส.เชียงใหม่ กับนางทองมาก ระวิวรรณ อดีต สส.หนองคาย ด้านครอบครัวสมรสกับนางสิรินทร รามสูต (สกุลเดิม: โลหะโชติ) บุตรของนายสมชาย โลหะโชติ อดีต สส.น่าน มีบุตร 2 คน[1]

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง

แก้

ทรงยศ รามสูต เข้าสู่งานการเมืองตามมารดา และบิดา ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งคู่ โดยเขาได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี พ.ศ. 2531 ต่อมาในการเลือกตั้ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเทิดไท ในปีเดียวกันซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคสามัคคีธรรม[2]

ทรงยศ รามสูต ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535[3] ก่อนหน้านั้นไม่นานบิดาของเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลดังกล่าวด้วย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ทรงยศ รามสูต ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสิรินทร รามสูต[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคสามัคคีธรรมเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-18.
  3. คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๘๓/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายทรงยศ รามสูต)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ศรีรัตน์ นุชนิยม. พระแสงราชศัตราทองคำ-หนึ่งในสยาม. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์. 2551. ISBN 978-974-05-7145-2
  • นามสกุลพระราชทาน จากเว็บไซต์ พระราชวังพญาไท
  • ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เว็บไซต์ จังหวัดกำแพงเพชร