มานะ แพรสกุล
มานะ แพรสกุล (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 4 สมัย ได้รับการเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม
มานะ แพรสกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2550–2552) |
ประวัติ
แก้นายมานะ แพรสกุล เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ที่จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายยิ่ง กับนางคาเซียม แพรสกุล[1]
การทำงาน
แก้นายมานะ แพรสกุล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยต่อมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย[2] และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคเอกภาพ จากนั้นได้เว้นว่างจากงานการเมืองไปในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 จนกระทั่งนายมานะ ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคเอกภาพเช่นเดิม[3] ในปี 2539 เขาลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เขต 4 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับสันติ ตันสุหัช แต่เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายมานะ ได้ลงสมัครับเลือกตั้งอีกครั้ง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] โดยแพ้ให้กับนายสันติ ตันสุหัส จากพรรคไทยรักไทย[6] ภายหลังนายมานะ จึงได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2545 จนกระทั่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 จึงย้ายมากลับร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม[7] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายมานะ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา[8] พร้อมกับนายแพทย์ไกร ดาบธรรม แต่ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น มีผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน 2 คน กับนายแพทย์ไกรเท่านั้นที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
- ↑ ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2544 เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2555
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมือง ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ, หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒