นายสันติ ตันสุหัช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม[1] ปัจจุบันสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ

สันติ ตันสุหัช
รองหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม
ดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 (71 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ
คู่สมรสเตือนใจ ตันสุหัช

ประวัติ แก้

สันติ ตันสุหัช เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายสุทัศน์ กับนางเตือนใจ ตันสุหัช[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

สกุลตันสุหัช แก้

ตันสุหัช เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2475 พระราชทานแก่ขุนอนุการราชกิจ (ตั่วเท้า) กรมการพิเศษจังหวัดเชียงใหม่ เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 6468[3]

การทำงาน แก้

สันติ ตันสุหัช ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่[4] จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอีก 2 สมัยต่อมา คือ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 (ชนะนายมานะ แพรสกุล อดีต ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ กับนายประสิทธิ์ วุฒินันชัย จากพรรคราษฎร)[5][6] และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย[7] เนื่องจากปัญหาพื้นที่เขตเลือกตั้งทับซ้อนกัน แต่กลับไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายประสิทธิ์ วุฒินันชัย จากพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่แพ้ให้กับนายสันติ หลายสมัยติดต่อกัน

ต่อมาภายหลังการยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย จึงย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาสันติ[8][9] เนื่องจากพื้นที่เลือกตั้งทับซ้อน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับคู่แข่งเดิม กระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 จึงได้กลับเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม ซึ่งถูกกล่าวถึงในสื่อมวลชนว่าเป็นพรรคสำรองของพรรคเพื่อไทย[10] แต่ในเวลาต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคเพื่อธรรมจากนั้นจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ [11] และเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อธรรม
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศพระราชทานนามสกุลราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 วันที่ 15 มกราคม 2475 หน้า 3500
  4. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  6. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  7. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  8. สมัครส.ส.เชียงใหม่วันแรก26คน7พรรค
  9. ระบบงานเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
  10. จับตา "เพื่อธรรม" อะไหล่"เพื่อไทย"?[ลิงก์เสีย]
  11. 'พลังประชารัฐ' ขึ้นเหนือ วางยุทธศาสตร์ชิงเก้าอี้ส.ส.38ที่นั่ง
  12. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕