ไกร ดาบธรรม
นายแพทย์ไกร ดาบธรรม (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2504) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่
ไกร ดาบธรรม | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
เขตเลือกตั้ง | เขต 3 |
คะแนนเสียง | 68,792 (37.86%) |
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน พ.ศ. 2549 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
พรรคการเมือง | รวมชาติพัฒนา (2550–2554) ชาติไทยพัฒนา (2554–2556) มหาชน (2556–2561) ภูมิใจไทย (2561–2565) เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้นายแพทย์ไกร เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายทรงพล กับนางสมศรี ดาบธรรม สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประสบการณ์การทำงาน
แก้นายแพทย์ไกร รับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และตำแหน่งรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักพัฒนาจนทำให้โรงพยาบาลแม่อายเป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบระดับประเทศ ตลอดระยะเวลาการรับราชการ นายแพทย์ไกร ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายรางวัล อาทิ รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น รางวัลครูบาศรีวิชัย และรางวัลเสมาคุณูปการ
รางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท
แก้นายแพทย์ไกร มารับราชการที่โรงพยาบาลแม่อาย ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสูงทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลาที่รับราชการได้มอบเงินเดือนของตนเองให้กับกองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในโรงพยาบาลแม่อาย[1] ในบางครั้งนายแพทย์ไกร ยังเดินทางด้วยเท้าเพื่อเข้าไปรักษาชาวบ้านในพื้นที่ทุรกันดารที่รถไม่สามารถเข้าไปได้ [2] กระทั่งในปี พ.ศ. 2537 มูลนิธิแพทย์ชนบท ได้มอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท แก่นายแพทย์ไกร เพื่อเชิดชูเกียรติแพทย์ที่เสียสละอย่างแท้จริง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้มอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ให้แก่นายแพทย์ไกร อีกหนึ่งรางวัล
การเข้าสู่การเมือง
แก้นายแพทย์ไกร ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนถึง 145,196 คะแนน[3][4] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครในนามพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งนี้
ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้ประกาศตัวย้ายไปร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกจำนวนหนึ่ง[5] และลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคมหาชน และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคภูมิใจไทย[7] แต่ได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 3 ต่อมาในปี 2565 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[8] และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชีวิตและงานของนายแพทย์ไกร ดาบธรรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทางชีวิตของหมอชนบท[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวเด่น - สวท.เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ เปิดตัวประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ร่วมงานพรรคชาติไทยพัฒนา
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคมหาชน)
- ↑ รับสมัครส.ส.วันแรกคึกคัก เชียงใหม่ 22 พรรรคส่ง 160 นักการเมืองเข้าชิงชัยหวังชิงเก้าอี้ 9 ส.ส.
- ↑ “เพื่อไทย”เปิดตัว“นพ.ไกร ดาบธรรม”อดีตแพทย์ชนบทดีเด่น-ชิงส.ส.เชียงใหม่
- ↑ ตั้ง “หมอไกร” ที่ปรึกษาถ่ายโอน รพ.สต.มาเชียงใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราขทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑