ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์

นายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา

ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์
ไฟล์:ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (77 ปี)
อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

ประวัติและผลงาน แก้

นายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายดุสิต และ นางบัวคัว[1] เป็นพี่ชายของนายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สำหรับผลงานนั้น นายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ เป็นผู้แทนสมัยนั้นได้นำความเจริญมาสุ่พี่น้องชาวอำเภอจอมทองอย่างต่อเนีอง ไม่ว่าจะเป็นถนนเลี่ยงเมือง เหมื่องกั้นน้ำ ประปาหมู่บ้าน ไฟฟ้า ขย่ายโรงพยาบาลจอมทองให้รองรับผู้ป่วยในพื่นที่โดยไม่ต้องเดินทางมาในตัวจังหวัดทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความสะดวกสะบายมากยิ่งขึ่น ขย่ายโรงเรียนมัธยมจอมทอง ขย่ายที่พักครูโรงเรียนจอมทอง ขย่ายโรงอาหารโรงเรียนมัธยมจอมทองซึ่งไม่รองรับนักเรียนมัธยมจอมทอง ซึ่ง มีจำนวนมากทำให้โรงอาหารไม่เพียงพอที่จะรองรับนักเรียนได้ ทั้งนี้ยังมีโครงการต่างๆที่ดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่ได้รับการเลือกตั้งในสมัยต่อมาแต่นาย ณรงค์ ภูอิทธวงศ์ ก็ยังคงเดินหน้าพัฒนาอำเภอจอมทองตลอดมา นายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ เป็นผู้แทนที่ทำงานทุ่มเทอย่างจริงจังและเป็นผู้แทนที่เข้าถึงพี่น้องประชาชนอย่างแท่จริง

งานการเมือง แก้

ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปี พ.ศ. 2538 เคยได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา[3] และปี พ.ศ. 2548 ลงสมัครในนามพรรคมหาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งสองครั้ง และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา[4]

นายณรงค์ เป็นนักการเมืองที่มีบทบาทในพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่[5] และในปี 2561 นายณรงค์ ได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. "โค้งสุดท้ายภาคเหนือ 7 จ.ทรท.มีสิทธิ์ยกทีม/10 เก้าอี้ชม.นายกฯฝันค้าง-แม่เลี้ยงติ๊กพ่าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-30.
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. สมัครส.ส.เชียงใหม่วันแรก26คน7พรรค
  5. ชาวจอมทองมีเฮ ! รวมพลังพา “อดีต ส.ส.ณรงค์” ลุยป่าขึ้นขุนน้ำแก้ภัยแล้ง
  6. “อนุทิน ชาญวีรกูล” ให้การต้อนรับ “น.พ.ประสิทธิ์ – สุนทรี ชัยวิรัตนะ” สมัครสมาชิก ภูมิใจไทย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑