เกรียง กีรติกร
เกรียง กีรติกร (สกุลเดิม เอี่ยมสกุล)[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2518 เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกรมวิชาการ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การประกาศแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นการขยายให้การศึกษาภาคบังคับไปสู่ภูมิภาค และเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาการศึกษาในหลายด้าน[2] จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "เสาเอกแห่งการประถมศึกษาไทย"[3] และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา[4]
เกรียง กีรติกร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม 2517 – 14 กุมภาพันธ์ 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | อภัย จันทวิมล |
ถัดไป | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (78 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พวงเพ็ชร (ตันติเจริญ) กีรติกร |
บุตร | 4 คน |
อาชีพ | ช้าราชการ |
ประวัติ
แก้นายเกรียง กีรติกร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 เริ่มเข้าเรียนที่วัดเชิงหวาย และวัดพญาปันแดน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2461 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประจำอำเภอพิชัย จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ โรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก และโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ จนจบชั้น ม.8
ในปี พ.ศ. 2473 ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พร้อมกับเริ่มเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง กระทั่งในปี พ.ศ. 2477 จึงย้ายมารับราชการที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จากนั้นในปี พ.ศ. 2480 ได้รับตำแหน่งเป็นธรรมการจังหวัดระยอง และในปี พ.ศ. 2483 ได้ย้ายเข้ามาเป็นหัวหน้าแผนก ในสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ จนได้รับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2502 และเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2505
นายเกรียง มีส่วนสนับสนุนในการจัดตั้งสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย[5]
นายเกรียง กีรติกร สมรสกับนางพวงเพ็ชร ตันติเจริญ มีบุตร 2 คนคือ นางกิ่งเพ็ชร วรพิพัฒน์ และนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ในปี พ.ศ. 2501 นางพวงเพ็ชร ถึงแก่กรรม นายเกรียงจึงได้สมรสใหม่กับนางวัชรี พงษ์ธรานนท์ ในปี พ.ศ. 2503 มีบุตร 2 คน คือ กรวินท์ กีรติกร และ กัญญวิมว์ กีรติกร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[9]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี เก็บถาวร 2020-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
- ↑ หอประวัติ มจพ.[ลิงก์เสีย]อ้างอิงจาก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2502-2535 :กรุงเทพฯ :วิสิทธิ์ พัฒนา,2537.
- ↑ บุคคลสำคัญจากจังหวัดอุตรดิตถ์ เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ อบจ.อุตรดิตถ์
- ↑ "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-09.
- ↑ ประวัติความเป็นมาของสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๑, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๓๗, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
ก่อนหน้า | เกรียง กีรติกร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อภัย จันทวิมล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) |
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |