ประดู่บ้าน
ประดู่บ้าน[3][4] หรือ ประดู่กิ่งอ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus indicus เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae
ประดู่บ้าน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยถั่ว Faboideae |
สกุล: | Pterocarpus Pterocarpus Willd. |
สปีชีส์: | Pterocarpus indicus |
ชื่อทวินาม | |
Pterocarpus indicus Willd. | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
ถิ่นที่อยู่
แก้ประดู่ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในออสตราเลเซียตอนเหนือ, หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก, ติมอร์-เลสเต, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย,[5] ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะรีวกีว, หมู่เกาะโซโลมอน, เวียดนาม[6] และภาคใต้ของไทย[7] โดยมีการนำไปปลูกในภูมิภาคอื่น ๆ ของไทยในภายหลัง[8]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ประดู่บ้านเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายประดู่ แต่แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้างกว่าและมีปลายกิ่งยาวห้อยระย้า[8] มีความสูงประมาณ 10–25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทา ลำต้นเป็นพูไม่กลม แตกเป็นสะเก็ดร่องตื้น ๆ มีน้ำยางน้อยกว่าประดู่ ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6–12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2–3 นิ้ว กว้างประมาณ 1–2 นิ้ว ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะแตกแขนงเป็นช่อใหญ่กว่าประดู่[9] ผลมีขนเล็ก ๆ ปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4–6 เซนติเมตร
การปลูกเลี้ยง
แก้ประดู่บ้านต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกริมถนนเพราะกิ่งทอดลงห้อยย้อยสวยงาม
การใช้ประโยชน์
แก้- ปลูกเป็นต้นไม้ประดับริมถนน เช่น ในกรุงเทพมหานคร
- ประดู่บ้านสะสมแคดเมียมได้ 470 µg/g เมื่อปลูกแบบไร้ดิน (hydroponics)[10]
- ไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้
- เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า[11]
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
แก้- ดู่บ้าน (ภาคเหนือ)
- ประดู่บ้าน, ประดู่กิ่งอ่อน, ประดู่อังสนา, อังสนา (ภาคกลาง)
- สะโน (มลายู-นราธิวาส)
ดูเพิ่ม
แก้- ประดู่ (ประดู่ป่า)
อ้างอิง
แก้- ↑ Barstow, M. (2018). "Pterocarpus indicus". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T33241A2835450. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T33241A2835450.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 16 May 2014.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 705.
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ Simon Gardner, Pindar Sidisunthorn and Lai Ee May, 2011. Heritage Trees of Penang. Penang: Areca Books. ISBN 978-967-57190-6-6
- ↑ International Legume Database & Information Service: Pterocarpus indicus
- ↑ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี). กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "ต้นไม้ที่น่าสนใจ."
- ↑ 8.0 8.1 เดชา ศิริภัทร. "ประดู่ : ตำนานความหอมและบิดาแห่งราชนาวี."
- ↑ วรรณดี พลเยี่ยม. "ดอกประดู่." เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Suekhum, D., (2005). Phytoremediation of Cadmium by Selected Leguminous Plants from Hydroponic Culture. Thesis, Mahidol University.
- ↑ ประดู่ ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Pterocarpus indicus (narra). Images and references – (2006) 17p
- PIER species info: Pterocarpus indicus เก็บถาวร 2008-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน