วิจารณ์ พานิช
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช (27 พฤศจิกายน 2485 -) ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันทำหน้าที่นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วิจารณ์ พานิช | |
---|---|
ไฟล์:Vicharn panich.jpg | |
เกิด | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ก่อตั้งและประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
วิจารณ์ พานิช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้
ประวัติ
แก้วิจารณ์ พานิช เป็นหลานชายของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) บุคคลสำคัญของโลกที่เรารู้จักกันในนามท่านพุทธทาสภิกขุ (นามเดิม เงื่อม พานิช) สมรสกับ ศ.พญ.อมรา (เศวตวรรณ) พานิช มีบุตรธิดา 4 คน
การศึกษา
แก้จบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505-2509 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2510-2511 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 355
ประวัติการทำงาน
แก้ตำแหน่งปัจจุบัน
แก้- ประธานกรรมการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
- นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กรรมการบริหารมูลนิธิต่าง ๆ อาทิ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิสยามกัมมาจล มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ประธานมูลนิธิการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ
- กรรมการบริหารสถาบันคลังสมองของชาติ
- นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ตำแหน่งในอดีต
แก้- นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์
- นายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก
- นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- เคยเป็นอาจารย์ และเลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- เคยเป็นอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งทางบริหาร อาทิ หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รองอธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อดีตรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- อดีตผู้อำนวยการคนแรก ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการอยู่ 2 สมัย
- ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
- ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.)
- ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- กรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- กรรมการนโยบาย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- Member of WHO Expert Advisory Panel on Human Genetics
- เคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สภาสถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- เคยดำรงตำแหน่งกรรมการสถาบันวิจัยต่างๆ อาทิ สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
เกียรติคุณและรางวัล
แก้- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด.) สาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธูวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กศ.ด.) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ. 2545)
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการจัดการสารสนเทศ) จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (พ.ศ. 2555)
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2560)
- รางวัลปาฐกถา สุด แสงวิเชียร ประจำปี พ.ศ. 2544 จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- เกียรติบัตรเชิดชูพยาธิแพทย์อาวุโส ประจำปี พ.ศ. 2545 จากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์
- รางวัลมหิดลทยากร ประจำปี พ.ศ. 2545 จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
- คุรุสภาประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2559
- สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาประกาศยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2566
- รางวัลเชิดชูเกียรติครบรอบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๖๗
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 119 ตอนที่ 21 ข หน้า 7, 4 ธันวาคม 2545
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109 ตอนที่ 154 ง ฉบับพิเศษ หน้า 13, 4 ธันวาคม 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 128 ตอนที่ 27 ข หน้า 1, 21 ธันวาคม 2554
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บล็อกส่วนตัวของ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน