คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 45 ของไทย (4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533)

คณะรัฐมนตรีชาติชาย
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2531 - 2533
วันแต่งตั้ง4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
วันสิ้นสุด9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(2 ปี 127 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคชาติไทย (96)
พรรคกิจสังคม (53)
พรรคประชาธิปัตย์ (48)
พรรคราษฎร (21)
พรรคมวลชน (5)
พรรคสหประชาธิปไตย (5)
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
228 / 357
พรรคฝ่ายค้านพรรคเอกภาพ (62)
พรรคประชากรไทย (31)
พรรคปวงชนชาวไทย (17)
พรรคพลังธรรม (15)
พรรคเสรีนิยม (3)
พรรคพลังสังคมประชาธิปไตย (1)
ประวัติ
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 44
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46

พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531[1] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 45 ของไทย

แก้

ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[2]

  1. นายพงส์ สารสิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นายพิชัย รัตตกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. นายกร ทัพพะรังสี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  8. นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. นางสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  10. พันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  11. ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  12. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  13. นายประมวล สภาวสุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  14. นายสุชน ชามพูนท เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  15. นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  16. พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  17. ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  18. พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  19. นายเจริญ คันธวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  20. นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  21. นายอุดร ตันติสุนทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  22. นายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  23. นายนิคม แสนเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  24. นายประทวน รมยานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  25. นายเอนก ทับสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  26. นายสุบิน ปิ่นขยัน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  27. นายภิญญา ช่วยปลอด เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  28. นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  29. พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  30. นายเสนาะ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  31. นายสันติ ชัยวิรัตนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  32. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  33. นายวัฒนา อัศวเหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  34. พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  35. นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  36. พลเอกมานะ รัตนโกเศศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  37. นายสกุล ศรีพรหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  38. นายใหม่ ศิรินวกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  39. นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสาธารณสุข
  40. นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  41. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  42. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  43. นายดุสิต รังคสิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  44. นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  45. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

การปรับคณะรัฐมนตรี

แก้
  • วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2532[3]
  1. นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แทนนายพิชัย รัตตกุล ที่ลาออกจากตำแหน่ง
  2. นายมารุต บุนนาค เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2533 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2533 มีการสลับตำแหน่งรัฐมนตรี 2 ราย ดังนี้[4]
  1. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สืบแทน พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
  2. พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สืบแทน นายบรรหาร ศิลปอาชา
  • วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2533 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สืบแทนพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[5]
  • วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สืบแทน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่ลาออกจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[6]
  • วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายสันติ ชัยวิรัตนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี[7]
  • วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ให้นายภิญญา ช่วยปลอด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี[8]
  • วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี ครั้งใหญ่ ดังนี้[9]
  1. นายพงส์ สารสิน พ้นจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
  2. นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  3. พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  4. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  5. นายประมวล สภาวสุ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
  6. พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  7. ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  8. พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
  9. นายอุดร ตันติสุนทร พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  10. นายเอนก ทับสุวรรณ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  11. นายสุบิน ปิ่นขยัน พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  12. พลเอกมานะ รัตนโกเศศ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
  13. นายสกุล ศรีพรหม พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  14. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  15. นายดุสิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  16. นายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  17. นายทวิช กลิ่นประทุม พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
  18. นายทองหยด จิตตวีระ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  19. พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  20. นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  21. นายอำนวย ยศสุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  22. นายประยุทธิ์ ศิริพาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  23. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  24. นายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  25. นายเจี่ย ก๊กผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  26. พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  27. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  28. นายประยูร สุรนิวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  29. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ต่อมาได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ดังนี้[10]

  1. ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  2. นายประจวบ ไชยสาส์น พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สืบแทนนายมารุต บุนนาค ที่ลาออกจากตำแหน่ง
  3. นายเจริญ คันธวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  4. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. นายสุทัศน์ เงินหมื่น พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  6. นายเอนก ทับสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 45

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจาก พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533

อ้างอิง

แก้
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล ลาออก และตั้งนายชวน หลีกภัย นายมารุต บุนนาค)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (๑.นายบรรหาร ศิลปอาชา พ้นจากตำแหน่ง รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็น รมต.กระทรวงมหาดไทย ๒.พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร พ้นจากตำแหน่ง รมต. กระทรวงมหาดไทย เป็น รมต. กระทรวงอุตสาหกรรม)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี ( พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และแต่งตั้งให้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่ง)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี (ให้นายสันติ ชัยวิรัตนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี (นายภิญญา ช่วยปลอด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณฺชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้