คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 ของไทย (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
คณะรัฐมนตรีชาติชาย 2 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2533 - 2534 | |
![]() | |
วันแต่งตั้ง | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 |
วันสิ้นสุด | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 71 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
ประมุขแห่งรัฐ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 47 |
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายนามคณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 ของไทยแก้ไข
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังรายนามต่อไป[1]
- นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
- นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ รองนายกรัฐมนตรี
- นายโกศล ไกรฤกษ์ รองนายกรัฐมนตรี
- พลเอกมานะ รัตนโกเศศ รองนายกรัฐมนตรี
- พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี
- นายสอาด ปิยวรรณ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอกหาญ ลีลานนท์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายสุชน ชามพูนท รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายชวลิต ธนะชานันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายจรัส พั้วช่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายวโรทัย ภิญญสาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายประทวน รมยานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายเจริญ เชาวน์ประยูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอมเรศ ศิลาอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายจำนงค์ โพธิสาโร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายพินิจ จันทรสุรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายปกิต พัฒนกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายอุทัย พิมพ์ใจชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
- พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายบุญถึง ผลพานิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสกุล ศรีพรหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเด่น โต๊ะมีนา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายวีรวร สิทธิธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายสมาน ภุมมะกาญจนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายประยูร สุรนิวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีแก้ไข
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[2]
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 ของไทยแก้ไข
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจาก พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยอ้างสาเหตุเข้ายึดอำนาจ คณะรัฐบาล ตามแถลงการณ์คณะรักษาความเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่อง คำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ[3]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่ง)
- ↑ "แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.