สมาน ภุมมะกาญจนะ
สมาน ภุมมะกาญจนะ (1 มกราคม พ.ศ. 2479 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) อดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี
สมาน ภุมมะกาญจนะ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2479 อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (76 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย ชาติพัฒนา ไทยรักไทย |
คู่สมรส | จิตรา ภุมมะกาญจนะ |
ประวัติ
แก้สมาน เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2479 ที่ อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรชายของนายสวัสดิ์ นางละมัย ภุมมะกาญจนะ ด้านครอบครัวสมรสกับนางจิตรา ภุมมะกาญจนะ (สกุลเดิม: ภาวสิน) มีบุตร 3 คน ได้แก่ นางศิริรัตน์ จารุวัสตร์ นางสาวอุษา ภุมมะกาญจนะ และนายชยุต ภุมมะกาญจนะ ซึ่งภายหลังที่มีอายุสูงขึ้น ได้วางมือจากการเมือง โดยมีนายชยุต ผู้เป็นบุตรชายสืบทอดต่อ[1]
สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนสหกิจวิทยา ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตร์การปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[2]
การทำงาน
แก้สมาน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทย ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ถึง 8 สมัย ในสังกัดพรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมถึง 3 สมัย ในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 45[3] 46 ที่มี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี[4] และคณะรัฐมนตรี คณะที่ 52[5] ที่มี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยด้วย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้สมาน ถึงแก่กรรม ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ในเวลาเช้าของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สิริอายุ 76 ปี[6] [7] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ณ วัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ชยุต ภุมมะกาญจนะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
- ↑ โรคหัวใจคร่า "สมาน ภุมมะกาญจนะ" อดีต รมช.อุตฯ ส.ส.ปราจีนบุรี 8 สมัยมติชน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ [ลิงก์เสีย] “สมาน ภุมมะกาญจนะ“ อดีตรมช.อุตฯ-สส.ปราจีน หลายสมัย วัย 76 ปี เสียชีวิตแล้ว! จาก[ลิงก์เสีย]สปริงนิวส์
- ↑ ข่าวต้นชั่วโมง 15.00 น. ทาง คลื่นความคิด F.M.96.5 MHz: ศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๗๗๘, ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓