อุกฤษ มงคลนาวิน
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา ผู้ก่อตั้งสำนักงานทนายความอุกฤษ มงคลนาวิน เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรม และเสริมสร้างสิทธิเสรีภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.ยส.จชต.) คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ปัจจุบันเป็นกรรมการสภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งประธานพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกด้วย
อุกฤษ มงคลนาวิน | |
---|---|
![]() | |
ประธานรัฐสภา โดยตำแหน่งประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน พ.ศ. 2527 – 21 เมษายน พ.ศ. 2532 ( 4 ปี 357 วัน) | |
ก่อนหน้า | จารุบุตร เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | วรรณ ชันซื่อ |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา โดยตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 เมษายน พ.ศ. 2534 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 ( 0 ปี 353 วัน) | |
ก่อนหน้า | วรรณ ชันซื่อ (ประธานวุฒิสภา) |
ถัดไป | มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานวุฒิสภา) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2476 (86 ปี) ประเทศไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน (บุณยประสพ) |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรชายของ น.ท.พระมงคลนาวาวุธ ร.น. (มงคล มงคลนาวิน) กับนางมงคลนาวิน (ชื่อและนามสกุลเดิม: ต่วนทิพย์ อินทรเสน) สมรสกับท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน (บุณยประสพ) นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีบุตรชาย 2 คน คือ ดร.พืชภพ มงคลนาวิน นักการทูตชำนาญการพิเศษ กระทรวงการต่างประเทศ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
อุกฤษ มงคลนาวิน เคยดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาถึง 5 สมัย (2527, 2528, 2530, 2532, 2534 - 2535[3] 22 มีนาคม 2535 – 26 พฤษภาคม 2535 ) ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4] และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[5] แต่ได้ขอลาออกหลังจากรับการแต่งตั้งในเดือนเดียวกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
(ได้รับเมื่อ 5 ธันวาคม 2527)
- พ.ศ. 2528 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2540 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2532 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[8]
- พ.ศ. 2534 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3[9]
- พ.ศ. ---- - เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2554 -เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ 1
เว็บไซต์แก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายอาษา เมฆสวรรค์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๑ พลเอก วิชิต บุณยะวัฒน์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๒)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/D/133/4.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชชั้นสายสะพาย ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๒)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์