วรรณ ชันซื่อ
ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ (16 สิงหาคม พ.ศ. 2466 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานวุฒิสภา
วรรณ ชันซื่อ | |
---|---|
ประธานรัฐสภา โดยตำแหน่งประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | อุกฤษ มงคลนาวิน |
ถัดไป | อุกฤษ มงคลนาวิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2466 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (92 ปี 3 วัน) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงพวงผกา ชันซื่อ |
ประวัติ
แก้ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2466 ที่ย่านสะพานเหลือง จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทเอกยู้ ชันซื่อ ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน และมารดาก็มีเชื้อสายจีน[1] เป็นพี่ชายของนายประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฏีกา สมรสกับ คุณหญิงพวงผกา ชันซื่อ (สกุลเดิม เศรษฐภักดี) มีบุตร - ธิดารวม 3 คน คือ
- นายแพทย์เอกวรรณ ชันชื่อ สมรสกับ รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิงนันทริกา ชันซื่อ (สกุลเดิม โพธิปักษ์)
- นางสาวยุวดี ชันซื่อ
- นายเอกทัย ชันซื่อ
การศึกษา
แก้ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อจบชั้นมัธยม 6 แล้วก็ไปเรียนพาณิชย์ต่อที่โรงเรียนพณิชยการวัดเทวราชกุญชร จนสอบได้มัธยม 8 ก็เบนเข็มเปลี่ยนไปเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ตมธก.) ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หน้าที่ทางการเมือง
แก้ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 โดยมี พลเอก พิศิษฐ์ เหมะบุตร เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
ธุรกิจ
แก้นอกจากบทบาททางการเมืองแล้ว ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ยังประกอบธุรกิจด้วย มีหลากหลายประเภท เช่น ธุรกิจค้าน้ำมัน, ศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์ โดยร่วมกับตระกูลนักธุรกิจที่มีชื่อหลายตระกูล เช่น สารสิน หรือ บุญสูง โดยเริ่มประกอบธุรกิจในปี พ.ศ. 2500[1]
หลังการเมือง
แก้หลังจากยุติบทบาททางการเมืองแล้ว ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ 49/1 ถนนประชาชื่น ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และไม่มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกเลย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ถึงแก่อนิจกรรมในเช้าวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุได้ 92 ปี 3 วัน[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "วรรณ ชันซื่อ ทำงานเงียบ ๆ รวยเงียบ ๆ". นิตยสารผู้จัดการ. November 1985. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา เล่ม 106, ตอนที่ 72, 4 พฤษภาคม 2532, หน้า 172 - 173.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
- ↑ "ร.ต.ต.วรรณ ชันซื่อ อดีตประธานสภา ถึงแก่อนิจกรรม". teenee.com. 19 August 2015. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
ก่อนหน้า | วรรณ ชันซื่อ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน | ประธานวุฒิสภา (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534) |
ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน |