จารุบุตร เรืองสุวรรณ

ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ (15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 — 19 มีนาคม พ.ศ. 2527) อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 5 สมัย เป็นบิดาของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นประธานรัฐสภาคนที่2ตายในขนะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา

ร้อยโท
จารุบุตร เรืองสุวรรณ
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
ประธานรัฐสภา และ ประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
26 เมษายน พ.ศ. 2526 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2527
(0 ปี 327 วัน)
ก่อนหน้า พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ถัดไป นายอุกฤษ มงคลนาวิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463
อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
เสียชีวิต 19 มีนาคม พ.ศ. 2527 (63 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรส อรนุช เรืองสุวรรณ
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ ลายเซ็นจารุบุตร เรืองสุวรรณ.png
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ประจำการ พ.ศ. 2488 – 2489
ยศ RTA OF-1b (Lieutenant).svg ร้อยโท
บังคับบัญชา กองทัพบกสหราชอาณาจักร
เสรีไทย
การยุทธ์ สงครามโลกครั้งที่สอง

ประวัติแก้ไข

ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 เป็นบุตรของนายเจริญ และ นางเอี่ยม เรืองสุวรรณ น้ำหนัก 91 กิโลกรัม สูง 172 เซนติเมตร[1] สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต และ ปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับนางอรนุช เรืองสุวรรณ มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นางจารุวรรณ ปฐมธนพงศ์

ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณมีพี่น้อง 6 คน ได้แก่ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ จารุพิฑูรย์ เรืองสุวรรณ จารุอุดม เรืองสุวรรณ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี[2] ด.ญ. จารุมณี เรืองสุวรรณ[1] จารุอรรถ เรืองสุวรรณ และ พล.อ.ดร.จารุภัทร เรืองสุวรรณ

การศึกษาแก้ไข

ในปี พ.ศ. 2480 จารุบุตร เรืองสุวรรณ จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จบปริญญาตรีตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต เนติบัณฑิตไทย ในปี พ.ศ. 2485 ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2488 จบโรงเรียนนายทหารอังกฤษหน่วยคอมมานโด[1]

การทำงานแก้ไข

งานในอดีตแก้ไข

จารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นครูหลายโรงเรียน ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2481 เป็นครูประชาบาลโรงเรียนวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ปลายปีเป็นครูเทศบาล พ.ศ. 2482 เป็นครูโรงเรียนราษฎร์ สงเคราะห์นิยม จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2483 จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้สมัครสอบวิชาครู พป. ซึ่งได้อันดับหนึ่งทั่วประเทศ จึงได้รับการคัดเลือกให้บรรจุเป็นครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2484 จนถึงปี พ.ศ. 2485 เป็นครูโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย[1]

งานเสรีไทยแก้ไข

ในปี พ.ศ. 2488 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สังกัดหน่วย 136 กองทัพที่ 14 กองทัพบกอังกฤษ[1] ต้นปี พ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะกรรมการอาชญากรสงคราม ได้รับพระราชทานยศชั่วคราวเป็นร้อยโท ทำหน้าที่ นายหารติดต่อกับกองทัพฝ่ายสัมพันธิตร เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น[1]

งานการเมืองแก้ไข

จารุบุตร เรืองสุวรรณ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย[3] ในระหว่างปี พ.ศ. 2511 จนถึงปี พ.ศ. 2514 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นมาแล้ว 5 สมัยและได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นคือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดขอนแก่น
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 จังหวัดขอนแก่น
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดขอนแก่น
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย[4]
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคธรรมสังคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ฯพณฯ จารุบุตร เรืองสุวรรณ
  2. ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 5 ง หน้า 115 21 มกราคม พ.ศ. 2512
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕